วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

อบรมดับเพลิงขั้นต้น บริษัทสยามแฟนซี อ้อมน้อย สมุทรสาคร

หลักเบื้องต้นของการเกิดไฟ ไฟ คือปฏิกิริยาทางเคมีจากการรวมตัวของ เชื้อเพลิง ออกซิเจน ด้วยความเร็วสูง 
เป็นผลให้เกิดความร้อน และ แสงสว่าง และสภาพแห่งการเกิดเปลี่ยนแปลงขึ้นเรียกว่า การสันดาปหรือการเผาไหม้ 

คุณลักษณะของไฟ ไฟ คือปฏิกิริยาทางเคมีต่อเนื่องของไอระเหยของเชื้อเพลิง กับ ออกซิเจน ( อากาศ ) 
โดยมีความร้อนเป็นตัวสนับสนุน และปล่อยพลังงานออกมาในรูปของ แสงสว่างและความร้อน สารติดไฟได้อาจจะอยู่ในรูปของ 
ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะปกติของเชื้อเพลิงนั้น ๆ 


องค์ประกอบของการเผาไหม้ ได้แก่  

1. วัตถุเชื้อเพลิง FUEL 
                2. ออกซิเจน ( อากาศ ) OXYGEN 
3. ความร้อน HEAT 


องค์ประกอบของทั้งสามอย่าง สามารถแทนได้ด้วยสามเหลี่ยมของไฟ (The Fire Triangle) 

หลักการดับไฟเบื้องต้น คือ การที่เราหาวิธีการหรือเครื่องมือ - อุปกรณ์ เพื่อแยกองค์ประกอบของไฟอย่างใดอย่างหนึ่งออกไป 
เพื่อทำให้ไม่ครบองค์ประกอบของไฟ ไฟก็จะดับไป 

การดับเพลิง สามารถแบ่งแยกวิธีการดับเพลิงได้ 3 - วิธี คือ 
1. การแยกวัตถุเชื้อเพลิง (Starvation) 
                           2. การแยกออกซิเจนหรือการจำกัดออกซิเจน (Smothering)
                3. การแยกความร้อนหรือการลดอุณหภูมิ (Cooling) 


1. การแยกวัตถุเชื้อเพลิง (Starvation) 

การเคลื่อนย้ายเชื่อเพลิง ออกหรือการตัดทางหนุนเนื่องของเชื้อเพลิง เช่น 
- ปิดก๊อกน้ำมันที่รั่วไหล 
- ขนถ่ายสินค้าออกจากระวางบรรทุกสินค้าหรืออาคารที่เกิดเพลิงไหม้ 
- การพังตึกหรืออาคาร เพื่อป้องกันการติดต่อลุกลาม - การทำทางกั้นเพลิง สำหรับไฟป่า เป็นต้น 

การเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิง ที่ติดไฟออกจากเชื้อเพลิง เช่น ขนย้ายวัตถุที่ยังไม่ติดไฟออกไป 

ทำให้ปริมาณของสิ่งที่ไหม้ไฟน้อยลง ได้แก่การแบ่งหรือแยกปริมาณที่ติดไฟไหม้เป็นกองเล็กกองน้อย เพื่อให้ดับเพลิงได้ง่ายขึ้น 

2. การแยกออกซิเจนหรือจำกัดปริมาณออกซิเจน ( อากาศ ) (Smothering) 

เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ไฟดับได้ โดยการลดปริมาณของออกซิเจนให้น้อยลง โดยลดให้เหลือ 15 % ไฟก็จะดับไป
 ซึ่งมีวิธีการทำได้ 2 วิธี คือ 

2.1) การกั้นออกซิเจน (Blanketing) ไม่ให้เข้าไปรวมตัวกับวัตถุเชื่อเพลิงที่ติดไฟ เช่น การปิดประตู , ช่องระบายอากาศ , 
        ฝาสกายไลท์ , ฝาระวาง , ฯลฯ ในห้องที่เกิดไฟไหม้ เพื่อกั้นออกซิเจนไม่ให้เข้าไปสนับสนุนให้เกิดการเผาไหม้อย่างต่อเนื่อง 

      2.2) การคลุมไฟ (Smothering) คือการหาวัสดุต่างๆ มาคลุมหรือปิดกั้นออกซิเจน โดยวัสดุนั้นจะกระทบถูกผิวหน้าของเชื้อเพลิงที่ติดไฟนั้นๆ ทำให้ออกซิเจนไม่สามารถเข้าทำปฏิกิริยากับเชื้อเพลิงได้ 

ปริมาณของออกซิเจน (O2) ในบรรยากาศทั่วไป 

          • ออกซิเจน (O2) 20.8 %
• ไนโตรเจน 78 %
                  • ก๊าซเฉื่อย ( ฝุ่นละออง ) 1.2 % 

   ออกซิเจนมีปริมาณตั้งแต่ 16 % ขึ้นไปจะเพียงพอต่อการเผาไหม้ ( เกิดการเผาไหม้ ) ต่อเนื่อง 


3. การแยกความร้อนหรือการลดอุณหภูมิ (Cooling) 
เมื่อ ความร้อนจากสิ่งที่ไหม้ไฟได้ถูกถ่ายเทออกในอัตราเร่งเร็วกว่าความร้อนที่ เกิดวัตถุที่ไหม้ก็เย็นลงจนไม่เป็นเหตุแห่งการเผาไหม้ต่อไปอีก ซึ่งตามธรรมดาเราใช้น้ำหรือสารเคมีเหลวเป็นตัวลดอุณหภูมิของสิ่งที่ไหม้ไฟ เมื่อน้ำถูกฉีดหรือสาดรดเข้าไปในไฟ น้ำจะดูดซึมความร้อนออกจากสิ่งที่ไหม้ไฟจนร้อน และบางกรณีก็เดือดกลายเป็นไอ ไอน้ำที่เกิดขึ้นจะช่วยในการคลุมไฟให้ดับได้เพราะขาดอากาศเข้าไปสนับสนุนให้ เกิดการเผาไหม้อย่างต่อเนื่อง ( ถ้าสามารถใช้น้ำได้อย่างต่อเนื่อง ) 


วิธีที่ดีที่สุดในการลดอุณหภูมิ คือการใช้น้ำเป็นฝอย ซึ่งมีผลในการลดอุณหภูมิได้รวดเร็วมากมากและสามารถใช้กับ
พื้นที่เกิดการเผาไหม้กว้างๆได้ ปริมาณก๊าซออกซิเจนในอากาศทั่วไป 


ออกซิเจนในอากาศ ( ปกติ ) จะมีปริมาณ 21 % ประกอบด้วย
  • ออกซิเจน 20.8 %
• ไนโตรเจน 78 %
  • ฝุ่นละออง 1.2 % 




















ผลกระทบเมื่อขาดออกซิเจน 

       • ถ้าออกซิเจนลดลงเหลือ 17 % หายใจถี่แรง เร็ว
   • ถ้าออกซิเจนลดลงเหลือ 15 % หูอื้อ ตาลาย
      • ถ้าออกซิเจนลดลงเหลือ 9 % เป็นลม หมดสติ 
• ถ้าออกซิเจนลดลงเหลือ 7 % จะเสียชีวิต