เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยกิจการอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติ
ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. ๒๕๒๒ และกำหนดให้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหน่วยอาสาสมัคร
ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ยังใช้บังคับได้เฉพาะกาล ฉะนั้น
จึงสมควรออกระเบียบตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อใช้บังคับ
แทนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติ
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับ
การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๘
และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจ
ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบนี้ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยกิจการอาสาสมัครป้องกันภัย
ฝ่ายพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๓”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“อปพร.” หมายความว่า อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
“ศูนย์ อปพร.” หมายความว่า ศูนย์ อปพร. กลาง ศูนย์ อปพร. เขต ศูนย์ อปพร. จังหวัด
ศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร ศูนย์ อปพร. อำเภอ ศูนย์ อปพร. เขตในกรุงเทพมหานคร ศูนย์ อปพร.
เมืองพัทยา ศูนย์ อปพร. เทศบาล และศูนย์ อปพร. องค์การบริหารส่วนตำบล
“ผู้บัญชาการ” หมายความว่า ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
“ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการกลาง ผู้อำนวยการจังหวัด ผู้อำนวยการอำเภอ
ผู้อำนวยการท้องถิ่น และผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความ
และวินิจฉัยปัญหา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หน้า ๒
เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ อปพร. กลาง ประกอบด้วย อธิบดีกรมป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธานกรรมการ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ที่ได้รับมอบหมาย รองอธิบดีกรมการปกครอง ที่ได้รับมอบหมาย รองอธิบดีกรมส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่น ที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร และผู้ทรงคุณวุฒิ อีกไม่เกินห้าคน ซึ่งประธานกรรมการ
แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความสามารถ ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการ
ให้ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการป้องกันสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการส่วนกิจการอาสาสมัคร สำนักส่งเสริมการป้องกัน
สาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ อปพร. กลาง มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารกิจการศูนย์ อปพร.
(๒) เสนอแนวทางและมาตรการเกี่ยวกับการดำเนินกิจการ อปพร. ให้ศูนย์ อปพร. ถือปฏิบัติ
(๓) กำกับ ดูแล และสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ อปพร. ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ในวรรคหนึ่ง คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ อปพร. กลาง
อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศูนย์ อปพร. เพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด
หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนได้ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๙ มาใช้บังคับกับ
การประชุมของคณะอนุกรรมการศูนย์ อปพร. โดยอนุโลม
ข้อ ๗ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่ง
ก่อนวาระหรือในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติม ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับ
แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน หรือได้รับแต่งตั้งเพิ่มเติม อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่
ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้แต่งตั้งไว้แล้ว
หน้า ๓
เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระในวรรคหนึ่ง แต่ยังมิได้มีการ
แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติ
หน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้
ข้อ ๘ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามข้อ ๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจาก
ตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ
(๓) ประธานกรรมการให้ออก เพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องหรือไม่สุจริต
ต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด
ที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
ข้อ ๙ การประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ อปพร. กลาง ต้องมีกรรมการมาประชุม
ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคราวใดถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการ
ไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่ง
เป็นประธานในที่ประชุมสำหรับการประชุมคราวนั้น
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการ
ลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ ๑๐ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด
ประกอบด้วย
(๑) ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ
(๒) รองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ
คนที่หนึ่ง
หน้า ๔
เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
(๓) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
(๔) กรรมการอื่น ประกอบด้วย
(ก) ผู้แทนหน่วยงานของรัฐที่ประจำอยู่ในพื้นที่จังหวัด ตามจำนวนที่ผู้ว่าราชการจังหวัด
เห็นสมควรแต่งตั้ง
(ข) ผู้แทนของศูนย์ อปพร. เขต ที่จังหวัดนั้นอยู่ในเขตรับผิดชอบ
(ค) ประธานกรรมการประสานงานศูนย์ อปพร. จังหวัด ตามข้อ ๒๒ วรรคสอง
(ง) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด ตามจำนวนที่ผู้ว่าราชการจังหวัด
เห็นสมควรแต่งตั้ง
(จ) ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ด้านการป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัยจำนวนไม่เกินสามคน โดยให้มีผู้แทนจากองค์การสาธารณกุศลในเขตจังหวัดรวมอยู่ด้วย
(๕) หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๑๑ คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) กำหนดยุทธศาสตร์ และแนวทางการดำเนินงานกิจการ อปพร. ให้เป็นไปตามนโยบาย
และแนวทางที่คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ อปพร. กลางกำหนด
(๒) ให้การสนับสนุนส่งเสริมและกำกับดูแลการดำเนินงานของศูนย์ อปพร. ภายในเขต
จังหวัด ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการดำเนินงานที่เกี่ยวกับกิจการ อปพร. ที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ
ที่ศูนย์ อปพร. กลางกำหนด
ข้อ ๑๒ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ อปพร.
กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
(๑) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ
(๒) ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นรองประธานกรรมการ
(๓) กรรมการอื่น ประกอบด้วย
(ก) ผู้แทนส่วนราชการ หรือหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ตามจำนวนที่ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครเห็นสมควรแต่งตั้ง
(ข) ผู้แทนศูนย์ อปพร. กลาง
หน้า ๕
เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
(ค) ประธานกรรมการประสานงานศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร ตามข้อ ๒๒ วรรคสอง
(ง) ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ด้านการป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัยตามจำนวนที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นสมควรแต่งตั้ง โดยให้มีผู้แทนจากองค์การ
สาธารณกุศลในเขตกรุงเทพมหานครรวมอยู่ด้วย
(๔) ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ
และเลขานุการ
ข้อ ๑๓ ให้คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ตามข้อ ๑๑
ภายในเขตกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑๔ ให้นำความในข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่ง
การพ้นจากตำ แหน่งและการประชุมของคณะกรรมการอำ นวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด
และคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร โดยอนุโลม
หมวด ๒
การบริหาร และกำกับดูแล
ข้อ ๑๕ ให้ผู้บัญชาการ เป็นผู้บัญชาการศูนย์ อปพร. กลาง รองผู้บัญชาการ เป็น
รองผู้บัญชาการศูนย์ อปพร. กลาง มีอำนาจบังคับบัญชา และสั่งการผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.
รองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ อปพร. และ อปพร.
ทั่วราชอาณาจักร
ให้ผู้อำนวยการกลาง เป็นผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กลาง รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กลาง และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นศูนย์
อปพร. กลาง โดยให้เจ้าหน้าที่ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ปฏิบัติราชการประจำ ณ
ที่ตั้งกรม เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์
ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กลาง มีอำนาจควบคุมและกำกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อำนวยการ
ศูนย์ อปพร. รองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์
อปพร. และ อปพร. ได้ทั่วราชอาณาจักร และอาจแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์
เพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
หน้า ๖
เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
ข้อ ๑๖ ให้ศูนย์ อปพร. กลาง มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ดำเนินงานด้านธุรการของคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ อปพร. กลาง
(๒) สนับสนุนงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ คู่มือปฏิบัติงาน เอกสาร
และข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารกิจการ อปพร.
(๓) วางระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการดำเนินงานที่เกี่ยวกับกิจการ อปพร. รวมทั้งสิทธิ
และสวัสดิการแก่ อปพร.
(๔) ศึกษา ค้นคว้า และวิจัย ตลอดจนเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกิจการ อปพร.
(๕) จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม อปพร. และหลักสูตรที่เกี่ยวกับกิจการ อปพร. พร้อมกำหนด
รูปแบบวุฒิบัตร และเครื่องหมายแสดงความสามารถ หรือแสดงวิทยฐานะ รวมทั้งพิจารณาทบทวน
หรือปรับปรุงหลักสูตรให้มีความเหมาะสม
(๖) จัดให้มีการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติหลักสูตรตามที่กำหนดใน (๕)
(๗) จัดทำแผนพัฒนาอัตรากำลังของ อปพร. รวมทั้งพิจารณาทบทวน และปรับปรุงแผน
ให้มีความเหมาะสม
(๘) ประสานงาน ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของ อปพร. ทั่วราชอาณาจักร
(๙) ปฏิบัติการอื่นตามที่คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ อปพร. กลาง มอบหมาย
ข้อ ๑๗ ให้ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต กรมป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย เป็นผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เขต และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นศูนย์ อปพร. เขต โดยให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์ป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัยเขต กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์
ให้ศูนย์ อปพร. เขต มีอำนาจหน้าที่สนับสนุนการดำเนินกิจการ อปพร. ภายในเขตท้องที่
ที่รับผิดชอบ และสนับสนุนศูนย์ อปพร. เขตข้างเคียงในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ข้อ ๑๘ ให้ผู้อำนวยการจังหวัด เป็นผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด และสำนักงาน
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เป็นศูนย์ อปพร. จังหวัด โดยให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์
ให้รองผู้อำนวยการจังหวัด เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด มีหน้าที่ช่วยเหลือ
ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด ในการดำเนินการกิจการ อปพร. และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่
ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด มอบหมาย
หน้า ๗
เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
ให้หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์
อปพร. จังหวัด มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด
ข้อ ๑๙ ให้ผู้อำนวยการอำเภอ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. อำเภอ และที่ทำการปกครอง
อำเภอ เป็นศูนย์ อปพร. อำเภอ โดยให้เจ้าหน้าที่ของที่ทำการปกครองอำเภอ เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์
ข้อ ๒๐ ให้ผู้อำนวยการท้องถิ่น เป็นผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. ดังนี้
(๑) ให้นายกเทศมนตรี เป็นผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เทศบาล รองนายกเทศมนตรี
ซึ่งนายกเทศมนตรีมอบหมาย เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เทศบาล ปลัดเทศบาล เป็นผู้ช่วย
ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เทศบาล และสำนักปลัดเทศบาล เป็นศูนย์ อปพร. เทศบาล โดยให้เจ้าหน้าที่
ของสำนักปลัดเทศบาล เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์
(๒) ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. องค์การบริหาร
ส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย
เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. องค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้ช่วย
ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. องค์การบริหารส่วนตำบล และสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
เป็นศูนย์ อปพร. องค์การบริหารส่วนตำบล โดยให้เจ้าหน้าที่ของสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์
(๓) ให้นายกเมืองพัทยา เป็นผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา
ซึ่งนายกเมืองพัทยามอบหมาย เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยา
เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เมืองพัทยา และสำนักปลัดเมืองพัทยา เป็นศูนย์ อปพร. เมืองพัทยา
โดยให้เจ้าหน้าที่ของสำนักปลัดเมืองพัทยา เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์
ข้อ ๒๑ ให้ผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร
รองผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้อำนวยการกรุงเทพมหานครมอบหมาย เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์
อปพร. กรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร
เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร และสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร โดยให้เจ้าหน้าที่ของสำนักป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์
หน้า ๘
เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
ให้ผู้อำนวยการเขตในกรุงเทพมหานคร เป็นผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เขตในกรุงเทพมหานคร
และสำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์ อปพร. เขตในกรุงเทพมหานคร โดยให้เจ้าหน้าที่
ของสำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์
ข้อ ๒๒ ให้ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. ตามข้อ ๑๘ ข้อ ๑๙ ข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ มีอำนาจ
หน้าที่สั่งการ ควบคุม และกำกับดูแล เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ อปพร. และ อปพร. ในสังกัด ตลอดจน
ให้การสนับสนุนการดำเนินกิจการ อปพร. ภายในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ และสนับสนุนศูนย์ อปพร.
ข้างเคียงในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใด
เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
ให้ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. ตามวรรคหนึ่ง จัดให้ อปพร. เข้ามามีส่วนร่วมในรูปของ
คณะกรรมการประสานงานศูนย์ อปพร. โดยการจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
ประสานงานศูนย์ อปพร. ให้เป็นไปตามที่ศูนย์ อปพร. กลาง กำหนด
ข้อ ๒๓ ให้ศูนย์ อปพร. เทศบาล ศูนย์ อปพร. องค์การบริหารส่วนตำบล ศูนย์ อปพร.
เขตในกรุงเทพมหานคร และศูนย์ อปพร. เมืองพัทยา จัดตั้งฝ่ายต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๒) ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย
(๓) ฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย
(๔) ฝ่ายปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัย
(๕) ฝ่ายอื่น ๆ ตามความจำเป็น
ให้ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. ตามวรรคหนึ่ง แต่งตั้งหัวหน้าฝ่ายหนึ่งคน และรองหัวหน้าฝ่าย
สองคนจากเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ หรือ อปพร. โดยแต่ละฝ่ายให้มี อปพร. ตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ ในศูนย์ อปพร. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
และวิธีดำเนินงานที่ศูนย์ อปพร. กลางกำหนด
ข้อ ๒๔ ให้ อปพร. อยู่ภายใต้การควบคุม และกำกับดูแลของหัวหน้าฝ่าย อปพร.
ให้หัวหน้าฝ่ายในศูนย์ อปพร. แต่ละแห่งอยู่ภายใต้การสั่งการ ควบคุม และกำกับดูแล
ของผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เทศบาล ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. องค์การบริหารส่วนตำบล
ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เขตในกรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เมืองพัทยา แล้วแต่กรณี
หน้า ๙
เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
ให้ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เทศบาล ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. องค์การบริหารส่วนตำบล
และผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เมืองพัทยา อยู่ภายใต้การสั่งการ ควบคุม และกำกับดูแล
ของผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. อำเภอ
ให้ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. อำเภอ และผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เขตในกรุงเทพมหานคร
อยู่ภายใต้การสั่งการ ควบคุม และกำกับดูแลของผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด หรือผู้อำนวยการศูนย์
อปพร. กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
ให้ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด และผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร
อยู่ภายใต้การควบคุม และกำกับดูแลของผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กลาง
ให้ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด และผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร
อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและสั่งการของผู้บัญชาการศูนย์ อปพร. กลาง
ข้อ ๒๕ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.
จังหวัด ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กลาง อาจรับสมัคร
และคัดเลือกบุคคลเข้าเป็น อปพร. ในสังกัดของตน รวมทั้งรับ อปพร. ที่ขอย้ายจากศูนย์ อปพร. อื่น
เข้ามาเป็น อปพร. ในสังกัด และในการนี้ให้ออกบัตรประจำตัวให้แก่ อปพร. ในสังกัดของตนด้วย
ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๒๓ ข้อ ๒๘ ข้อ ๓๐ ข้อ ๓๑ ข้อ ๓๒ ข้อ ๓๙ และข้อ ๔๓
วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับกรณีตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม และให้ อปพร. อยู่ภายใต้การควบคุม
และกำกับดูแลของหัวหน้าฝ่าย อปพร. และให้หัวหน้าฝ่าย อปพร. อยู่ภายใต้การสั่งการควบคุม
และกำกับดูแลของผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร
และผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กลาง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๖ ให้ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. จัดให้มีธงประจำศูนย์ อปพร. เพื่อเป็นสัญลักษณ์
ประจำศูนย์ อปพร. ตามหลักเกณฑ์และรูปแบบที่ศูนย์ อปพร. กลาง กำหนด
ข้อ ๒๗ ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กลาง ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด และผู้อำนวยการศูนย์
อปพร. กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี อาจพิจารณามอบรางวัลเชิดชูเกียรติ สำหรับศูนย์ อปพร.
ในสังกัดที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น
ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. อาจพิจารณามอบประกาศเกียรติคุณสรรเสริญและเครื่องหมาย
เชิดชูเกียรติแก่ อปพร. ที่ปฏิบัติงานดีเด่น หรือผู้ที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือกิจการ อปพร.
จนเกิดผลดียิ่ง
หน้า ๑๐
เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
เพื่อเป็นการส่งเสริมและยกย่องในการปฏิบัติหน้าที่ของ อปพร. ที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น
เป็นพิเศษ ผู้บัญชาการศูนย์ อปพร. กลาง อาจพิจารณามอบประกาศเกียรติคุณสรรเสริญ
และเครื่องหมายเชิดชูเกียรติแก่ อปพร.
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และรูปแบบที่ศูนย์ อปพร. กลางกำหนด
หมวด ๓
การคัดเลือก การพ้นจากสมาชิกภาพ และการฝึกอบรม
ข้อ ๒๘ ให้ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เทศบาล ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. องค์การบริหาร
ส่วนตำบล ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เขตในกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.
เมืองพัทยา เป็นผู้รับสมัครและคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม เข้าเป็น อปพร.
อปพร. ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(๓) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในเขตศูนย์ อปพร. นั้น
(๔) เลื่อมใสการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๕) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริต
(๖) ไม่เป็นผู้เสื่อมเสียในทางศีลธรรม หรือในทางทุจริต หรือเป็นภัยต่อสังคม
ผู้สมัครที่ได้รับคัดเลือกว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในวรรคสอง
ต้องเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรม อปพร. จึงจะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น อปพร.
ข้อ ๒๙ อปพร. พ้นจากสมาชิกภาพเมื่อ
(๑) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ ๒๘ และผู้อำนวยการศูนย์
อปพร. ต้นสังกัดสั่งให้พ้นจากสมาชิกภาพ
(๒) ตาย
(๓) ลาออก
(๔) ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. ต้นสังกัด สั่งให้พ้นจากสมาชิกภาพ ตามข้อ ๓๖
หน้า ๑๑
เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
ข้อ ๓๐ กรณี อปพร. พ้นจากสมาชิกภาพตามข้อ ๒๙ หากประสงค์จะขอกลับเข้ามาเป็น
อปพร. อีก ให้ทำคำขอเป็นหนังสือยื่นต่อผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. ตามข้อ ๒๘ วรรคหนึ่ง
ข้อ ๓๑ กรณี อปพร. ผู้ใดมีความประสงค์จะย้ายไปสังกัดศูนย์ อปพร. อื่น เนื่องจาก
ย้ายภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือมีเหตุจำเป็นอื่นใด ให้ทำคำขอยื่นต่อผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.
ต้นสังกัดและให้ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. ที่ได้รับคำขอทำหนังสือส่งตัว พร้อมทะเบียนประวัติมอบให้
อปพร. ผู้นั้นถือไปรายงานตัวต่อผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. สังกัดใหม่ และให้ศูนย์ อปพร. นั้นเสนอ
ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด หรือผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร ออกบัตรประจำตัวใหม่ให้
และเรียกบัตรประจำตัวเดิมคืน
ข้อ ๓๒ ให้ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เทศบาล ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. องค์การบริหาร
ส่วนตำบล ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เขตในกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.
เมืองพัทยา จัดทำทะเบียนประวัติของ อปพร. ตามที่ศูนย์ อปพร. กลาง กำหนด ให้เป็นปัจจุบัน
ข้อ ๓๓ ให้ผู้อำ นวยการศูนย์ อปพร. กลาง ผู้อำ นวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด
และผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติโครงการฝึกอบรม อปพร.
และกำกับดูแลให้เป็นไปตามหลักสูตรที่กำหนด
ข้อ ๓๔ ให้ศูนย์ อปพร. ที่จัดฝึกอบรมหลักสูตรการอบรม อปพร. จัดทำเครื่องหมาย
อปพร. และวุฒิบัตร เพื่อมอบให้แก่ อปพร. ที่ผ่านการฝึกอบรม โดยเครื่องหมาย อปพร. ให้เป็นไป
ตามแบบท้ายระเบียบนี้ ส่วนวุฒิบัตรให้เป็นไปตามรูปแบบที่ศูนย์ อปพร. กลางกำหนด
หมวด ๔
สิทธิ และวินัยของ อปพร.
ข้อ ๓๕ อปพร. มีสิทธิ ดังต่อไปนี้
(๑) แต่งเครื่องแบบและประดับเครื่องหมาย อปพร.
(๒) ใช้วิทยุสื่อสารของทางราชการในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
เป็นลายลักษณ์อักษร
(๓) ได้รับการคุ้มครองตามระเบียบและกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย และหน้าที่อื่น ตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้บัญชาการ รองผู้บัญชาการ
ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ หรือเจ้าพนักงาน ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัย
หน้า ๑๒
เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
ข้อ ๓๖ อปพร. จะต้องรักษาและปฏิบัติตามวินัยโดยเคร่งครัด ดังต่อไปนี้
(๑) สนับสนุนและดำรงรักษาการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข
(๒) ปฏิบัติตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชาโดยเคร่งครัด และสนับสนุน
การปฏิบัติงานของศูนย์ อปพร. ที่ตนสังกัด
(๓) แต่งเครื่องแบบให้ถูกต้องตามระเบียบในขณะปฏิบัติหน้าที่
(๔) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต อดทน ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยและไม่หวัง
ผลประโยชน์ใด ๆ เป็นการตอบแทน
(๕) รักษาความสามัคคีในหมู่คณะและเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม
(๖) ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี
(๗) ไม่เสพสุราของมึนเมาในขณะปฏิบัติหน้าที่
(๘) ไม่ใช้กิริยาวาจาที่ไม่สุภาพต่อประชาชน
(๙) ไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
(๑๐) ไม่เปิดเผยความลับทางราชการ
(๑๑) ไม่แสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเอง หรือผู้อื่นจากการปฏิบัติหน้าที่
กรณี อปพร. กระทำผิดวินัยตามวรรคหนึ่ง และเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
หรือกิจการ อปพร. ให้ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. ที่ผู้นั้นสังกัดมีอำนาจสั่งให้ อปพร. ผู้กระทำผิด
พ้นจากสมาชิกภาพ
หมวด ๕
หน้าที่และการมอบหมายการปฏิบัติงาน
ข้อ ๓๗ อปพร. มีหน้าที่ปฏิบัติการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และเจ้าพนักงานในการ
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และปฏิบัติตามระเบียบนี้
ในการปฏิบัติหน้าที่ให้ อปพร. ไปรายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชา หรือเจ้าพนักงานโดยไม่ชักช้า
และขณะปฏิบัติหน้าที่ให้แต่งเครื่องแบบ อปพร. เว้นแต่เป็นกรณีเร่งด่วนจะประดับเฉพาะเครื่องหมาย
อปพร. ก็ได้ และต้องมีบัตรประจำตัว อปพร. ไว้เพื่อแสดงตนด้วย
หน้า ๑๓
เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
ข้อ ๓๘ กรณีผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. ใกล้เคียงร้องขอ และผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.
เห็นเป็นการสมควรอาจสั่ง อปพร. ไปปฏิบัติภารกิจนอกเขตรับผิดชอบก็ได้ และให้รายงาน
ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. ตามลำดับชั้น
ในกรณีที่มีความจำเป็น ให้ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด หรือผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.
กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี มีอำนาจสั่งการ อนุมัติ หรืออนุญาตให้ อปพร. ไปปฏิบัติภารกิจ
นอกเขตจังหวัด หรือกรุงเทพมหานครได้
ข้อ ๓๙ ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ และหัวหน้าฝ่าย อปพร.
ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เทศบาล ผู้อำนวยการ
ศูนย์ อปพร. เมืองพัทยา ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เขตในกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.
อำเภอ ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด ไม่อยู่ หรือ
ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองหัวหน้าฝ่าย อปพร. หรือรองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. ของศูนย์
อปพร. นั้น เป็นผู้สั่งการ อนุมัติ อนุญาตแทนไปพลางก่อนได้
ข้อ ๔๐ การรายงานให้กระทำ ตามลำ ดับชั้นการบังคับบัญชา เว้นแต่กรณีฉุกเฉิน
หรือจำเป็นอาจรายงานผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปได้ แต่ต้องรีบรายงานให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรง
ทราบในทันทีที่สามารถจะกระทำได้
หมวด ๖
เครื่องแบบ เครื่องหมาย และบัตรประจำตัว
ข้อ ๔๑ เครื่องแบบ อปพร. ให้เป็นไปตามรูปแบบแนบท้ายระเบียบนี้
ผู้บัญชาการ รองผู้บัญชาการ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และผู้ช่วยผู้อำนวยการ
เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ อปพร. มีสิทธิแต่งเครื่องแบบ อปพร.
ข้อ ๔๒ เครื่องหมาย อปพร. การใช้และการประดับ ให้เป็นไปตามรูปแบบและหลักเกณฑ์
แนบท้ายระเบียบนี้
การใช้และการประดับเครื่องหมาย อปพร. นอกจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ต้องได้รับ
อนุญาตจากผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.กลาง
ข้อ ๔๓ ให้ศูนย์ อปพร. เทศบาล ศูนย์ อปพร. องค์การบริหารส่วนตำบล ศูนย์ อปพร.
เขตในกรุงเทพมหานคร และศูนย์ อปพร. เมืองพัทยา จัดทำบัตรประจำตัว อปพร. ตามแบบท้าย
ระเบียบนี้ เสนอให้ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด หรือผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร
ออกบัตรประจำตัว อปพร. เพื่อมอบให้แก่ อปพร.
หน้า ๑๔
เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
นอกจากบัตรประจำตัว อปพร. ตามวรรคหนึ่ง ศูนย์ อปพร. กลาง อาจกำหนดให้มีบัตร
ประจำตัว อปพร. เพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษได้ โดยหลักเกณฑ์การออกบัตร อายุของบัตร และรูปแบบบัตร
ให้เป็นไปตามที่ศูนย์ อปพร. กลางกำหนด
ข้อ ๔๔ บัตรประจำตัว อปพร. ตามข้อ ๔๓ วรรคหนึ่ง ให้มีอายุสี่ปี เมื่อบัตรประจำตัวชำรุด
สูญหาย หมดอายุ หรือมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ เช่น ชื่อตัว ชื่อสกุล ให้ อปพร. ผู้นั้น
ยื่นคำร้องตามแบบที่ศูนย์ อปพร. กลางกำหนดต่อผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เทศบาล ผู้อำนวยการศูนย์
อปพร. องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เขตในกรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการศูนย์
อปพร. เมืองพัทยา แล้วแต่กรณี เพื่อเสนอให้ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. จังหวัด หรือผู้อำนวยการศูนย์
อปพร. กรุงเทพมหานคร พิจารณาดำเนินการออกบัตรประจำตัวใหม่ให้ต่อไป
ให้ศูนย์ อปพร. เทศบาล ศูนย์ อปพร. องค์การบริหารส่วนตำบล ศูนย์ อปพร.
เขตในกรุงเทพมหานคร และศูนย์ อปพร. เมืองพัทยา จัดทำทะเบียนควบคุมบัตรประจำตัว อปพร.
ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๔๕ ให้หน่วย อปพร. และ อปพร. ที่จัดตั้งขึ้นและมีอยู่ในวันก่อนวันที่ระเบียบนี้
ใช้บังคับเป็นหน่วย อปพร. และ อปพร. ตามระเบียบนี้
ให้คณะกรรมการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหน่วยอาสาสมัครป้องกันภัย
ฝ่ายพลเรือน พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่
ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
-๑-
เครื่องแบบ เครื่องหมาย และบัตรประจำตัว
แนบท้ายระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยกิจการอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๓
เครื่องแบบ
ส่วนที่ ๑
เครื่องแบบชุดฝึกหรือชุดปฏิบัติการ
ข้อ ๑ หมวก มี ๑ แบบ คือ หมวกแก๊ปทรงอ่อนแบบ ๖ กลีบ มี ๒ สี คือ สีดำ และสีกากี เครื่องหมาย
หน้าหมวกเป็นเครื่องหมายรูปอุณาโลม ทำจากแผ่นผ้าปักด้วยไหม ขนาดกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ยาว ๔ เซนติเมตร
และมีตัวอักษรคำว่า “เมตตา กล้าหาญ” อยู่ใต้เครื่องหมายรูปอุณาโลม กะบังหมวกมีรายละเอียดแตกต่างกัน ดังนี้
(๑) หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีดำ (มีช่อชัยพฤกษ์ ๒ ช่อ) กะบังหมวกมีสัญลักษณ์เป็นรูปช่อชัยพฤกษ์ ปักด้วย
ไหมสีทอง ๒ ช่อ ระหว่างช่อชัยพฤกษ์ มีรูปดาว ๘ แฉก และรูปตราสิงห์อยู่ภายในใช้กับผู้มีสิทธิสวมเครื่องแบบ
อปพร. ตามข้อ ๔๑ วรรคสอง ที่เป็นข้าราชการ ประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ
ประเภทอำนวยการระดับสูง และประเภทบริหารระดับต้น หรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.เทศบาล
นคร ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.เทศบาลเมือง ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.เมืองพัทยา
(๒) หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีดำ (มีช่อชัยพฤกษ์ ๑ ช่อ) กะบังหมวกมีสัญลักษณ์เป็นรูปช่อชัยพฤกษ์ปักด้วย
ไหมสีทอง ๑ ช่อ ระหว่างช่อชัยพฤกษ์ มีรูปดาว ๘ แฉก และรูปตราสิงห์อยู่ภายใน ใช้กับผู้มีสิทธิสวมเครื่องแบบ
อปพร. ตามข้อ ๔๑ วรรคสอง ที่เป็นข้าราชการ ประเภททั่วไประดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับชำนาญการ
พิเศษ และประเภทอำนวยการระดับต้น หรือเทียบเท่า ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.เทศบาลตำบล ผู้อำนวยการศูนย์
อปพร.องค์การบริหารส่วนตำบล รองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.เทศบาลนคร รองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.เทศบาล
เมือง และรองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.เมืองพัทยา
(๓) หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีดำ กะบังหมวกไม่มีสัญลักษณ์ใด ๆ ใช้กับผู้มีสิทธิสวมเครื่องแบบ อปพร. ตาม
ข้อ ๔๑ วรรคสอง ที่มิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๑) และ (๒)
(๔) หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีดำ กะบังหมวกมีสัญลักษณ์เป็นดิ้นทอง ๑ เส้น ใช้กับคณะกรรมการประสานงาน
ศูนย์ อปพร.จังหวัด และคณะกรรมการประสานงานศูนย์ อปพร.กรุงเทพมหานคร
(๕) หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีกากี กะบังหมวก ไม่มีสัญลักษณ์ใด ๆ ใช้กับ อปพร.
ข้อ ๒ เสื้อ มี ๕ แบบ คือ
(๑) เสื้อคอเปิดสีกากี (แบบที่ ๑) ตัวเสื้อปล่อยยาวถึงสะโพก ปกเสื้อแบะ มุมปกแหลม ตัวเสื้อด้านหน้า
ผ่าตลอด ไม่มีสาบ มีดุม ๕ ดุม แขนเสื้อยาวรูปทรงกระบอก ที่ปลายแขนเสื้อทั้งสอง ตรงด้านในชิดลำตัวติด
แผ่นรัดข้อมือกว้าง ๔ เซนติเมตร ยาว ๑๐ เซนติเมตร ห่างจากปลายแขนเสื้อพองาม ชายเป็นรูปสี่เหลี่ยมชี้ไป
ทางด้านหลังขัดดุม ๑ ดุม ติดกับแขนเสื้อในแนวเดียวกันมีดุมอีก ๑ ดุม สำหรับรัดปลายแขนเสื้อ ตัวเสื้อด้านหน้า
มีกระเป๋าบนและล่างข้างละ ๒ กระเป๋า กระเป๋าบนเป็นกระเป๋าปะไม่มีแถบ มีปกรูปสี่เหลี่ยมมุมเสมอกัน ขัดดุม
-๒-
ตรงกลางปก ๑ ดุม มุมกระเป๋าตัดมนพองาม กระเป๋าล่างเป็นกระเป๋าย่ามยึดชาย ตัวกระเป๋าพับจีบตรงกลาง มุม
กระเป๋าตัดมนพองาม มีปกรูปสี่เหลี่ยม มุมปกเยื้องเฉียงต่ำไปทางข้างตัวเล็กน้อยพองาม ขัดดุม ๒ ดุม ตรงมุม
ปกด้านล่าง ตัวเสื้อด้านหลังในแนวเอวมีแผ่นผ้า ขนาดกว้าง ๔ เซนติเมตร ยาว ๑๐ เซนติเมตร ๒ แผ่น ชายพับ
เหลี่ยมชี้ไปทางด้านข้าง ขัดดุม ๑ ดุม ติดกับตัวเสื้อและในระดับเดียวกันมีดุมที่ตะเข็บข้างอีกข้างละ ๑ ดุม
สำหรับรัดเอว ดุมทั้งสิ้นใช้ดุมกลมแบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ เซนติเมตร ทำด้วยวัตถุสีกากี เมื่อสวมเสื้อนี้
ให้ปล่อยชายเสื้อไว้นอกกางเกง และจะพับแขนเสื้อทั้งสองขึ้นไว้เหนือข้อศอกก็ได้
(๒) เสื้อคอเปิดสีกากี (แบบที่ ๒) ตัวเสื้อปล่อยยาวถึงสะโพก ชายตรง ปกเสื้อแบะ มุมปกแหลม ตัวเสื้อ
ด้านหน้าผ่าตลอด ไม่มีสาบ มีดุม ๕ ดุม แขนเสื้อยาวรูปทรงกระบอก ตัวเสื้อด้านหน้ามีกระเป๋าบนข้างละ ๑ กระเป๋า
เป็นกระเป๋าปะไม่มีแถบ มีปกรูปสี่เหลี่ยมมุมปกเสมอกัน ขัดดุมตรงกลางปก ๑ ดุม มุมกระเป๋าตัดมนพองาม
เมื่อสวมเสื้อนี้ให้สอดชายเสื้อไว้ในกางเกง และจะพับแขนเสื้อทั้งสองขึ้นไว้เหนือข้อศอกก็ได้
(๓) เสื้อกั๊กแบบทั้งตัวเว้าหน้า ทำด้วยผ้าตาข่ายชนิดเส้นใย POLYESTER สีส้ม กุ๊นชายเสื้อสีดำ ตัวเสื้อ
ด้านหน้าตรงกึ่งกลางมีเครื่องหมาย อปพร. ขนาดกว้าง ๑๕ เซนติเมตร ยาว ๒๑ เซนติเมตร เหนือและใต้เครื่องหมาย
อปพร. มีแถบสะท้อนแสงสีเงินพาดขวางตัวเสื้อ ๑ แถบ แต่ละแถบมีขนาดกว้าง ๔ เซนติเมตร ปลายแถบทั้งสองข้าง
ห่างจากตะเข็บข้างลำตัวพอประมาณ ส่วนตัวเสื้อด้านหลังตรงกึ่งกลางมีอักษร “อปพร .” สีขาว ขนาดความสูง
๘ เซนติเมตร และใต้อักษร “อปพร.” มีตัวอักษรสีขาว ระบุชื่อศูนย์ อปพร.ที่สังกัด ขนาดความสูง ๒ เซนติเมตร
เหนืออักษร “อปพร.” และใต้ชื่อศูนย์ อปพร.ที่สังกัด มีแถบสะท้อนแสงสีเงินพาดขวางตัวเสื้อ ๑ แถบ แต่ละแถบ
มีขนาดกว้าง ๔ เซนติเมตร ส่วนขนาดความยาวเท่ากับแถบตัวเสื้อด้านหน้า และที่ด้านข้างของเสื้อทั้ง ๒ ข้าง
มีตัวกดล็อกสำหรับยึดเสื้อด้านหน้าและด้านหลังไว้ด้วยกัน ข้างละ ๒ ตัว
(๔) เสื้อยืดคอเชิ้ตแขนยาวสีดำ ผ่าอกลึกประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ปกสีเดียวกับตัวเสื้อ ตัวเสื้อด้านหน้า
ที่อกเสื้อด้านซ้ายและด้านขวามีแถบสะท้อนแสงสีเงิน ขนาดกว้าง ๒ เซนติเมตร ด้านละ ๒ แถบ พาดขวาง
โดยปลายแถบแต่ละแถบห่างจากตะเข็บข้างลำตัวและสาบเสื้อพอประมาณ และมีเครื่องหมาย อปพร. ขนาดกว้าง
๓ เซนติเมตร ยาว ๔ เซนติเมตร อยู่ที่อกเสื้อด้านขวาเหนือแถบสะท้อนแสง ส่วนตัวเสื้อด้านหลังมีแถบสะท้อน
แสงสีเงิน ขนาดกว้าง ๒ เซนติเมตร ๒ แถบ พาดขวางตัวเสื้อ ปลายแถบแต่ละแถบห่างจากตะเข็บข้างลำตัว
พอประมาณ และเหนือแถบสะท้อนแสงมีอักษร “อปพร .” สีขาว ขนาดความสูง ๔ เซนติเมตร และใต้อักษร
“อปพร.” มีอักษรสีขาว ระบุชื่อศูนย์ อปพร.ที่สังกัด ขนาดความสูง ๒ เซนติเมตร และมีเครื่องหมาย อปพร.
ขนาดกว้าง ๖ .๕ เซนติเมตร ยาว ๙ เซนติเมตร อยู่บนสุดเหนืออักษร “อปพร.” เมื่อสวมเสื้อนี้ให้สอดชายเสื้อไว้
ในกางเกง
(๕) เสื้อต่อเนื่องกับกางเกง (ชุดสวม) ทำด้วยผ้าไม่ติดไฟ สีส้ม ตัวเสื้อด้านหน้าผ่าตลอดถึงกางเกง ติดซิป
และมีสาบซ้อนปิดซิปตลอดแนว แขนเสื้อยาวรูปทรงกระบอก ปลายแขนเสื้อทั้งสองขัดดุมข้างละ ๑ ดุม สำหรับ
รัดปลายแขนเสื้อ ตัวเสื้อด้านหน้าทั้งด้านซ้ายและด้านขวามีแถบสะท้อนแสงสีเงิน ขนาดกว้างประมาณ ๒ เซนติเมตร
พาดขวางด้านละ ๒ แถบ ปลายแถบแต่ละแถบ ด้านหนึ่งติดตะเข็บข้างลำตัว อีกด้านหนึ่งติดกับสาบเสื้อ และที่
อกเสื้อด้านขวาปักชื่อและตำแหน่งด้วยไหมสีทอง ขนาดตัวอักษรสูงไม่เกิน ๑.๕ เซนติเมตร ใต้แถบสะท้อนแสง
- ๓ -
มีกระเป๋าเจาะเฉียงข้างละ ๑ ใบ ปากกระเป๋าติดซิป ส่วนตัวเสื้อด้านหลังมีแถบสะท้อนแสงสีเงิน ขนาดกว้าง
๒ เซนติเมตร ๑ แถบ พาดขวางตลอดตัวเสื้อ ใต้แถบสะท้อนแสงมีอักษร “อปพร .” สีขาว ขนาดความสูง
๖ เซนติเมตร และที่กึ่งกลางโคนแขนเสื้อด้านขวาประดับเครื่องหมาย อปพร. ทำจากแผ่นผ้าปักด้วยไหม
ขนาดกว้าง ๖ .๕ เซนติเมตร ยาว ๙ เซนติเมตร ส่วนกึ่งกลางโคนแขนเสื้อด้านซ้ายมีแผ่นผ้าโค้งไปตามแนวตะเข็บ
เสื้อ พื้นสีดำ เดินขอบด้วยไหมสีเหลืองทอง ภายในปักชื่อศูนย์ อปพร.ที่สังกัด ด้วยไหมสีเหลืองทอง ขนาดตัวอักษร
สูง ๑ เซนติเมตร และที่แขนเสื้อท่อนล่างติดแถบสะท้อนแสงสีเงิน ขนาดกว้าง ๒ เซนติเมตร รอบกระบอกแขน
ข้างละ ๑ แถบ
บริเวณเอวมีแถบคล้ายลักษณะขอบกางเกง ขนาดกว้าง ๔ เซนติเมตร ด้านหลังบริเวณตะเข็บเสื้อมีแผ่นผ้า
ขนาดกว้าง ๔ เซนติเมตร ยาว ๑๐ เซนติเมตร ข้างละ ๑ แผ่น ชายพับเหลี่ยมชี้เข้าหากัน ขัดดุมข้างละ ๑ ดุม ถัดเข้ามา
ด้านในมีดุมอีกข้างละ ๑ ดุม สำหรับรัดเอว ดุมทั้งสิ้นใช้ดุมกลมแบนสีเดียวกับเสื้อ
ชุดท่อนล่างเป็นกางเกง ด้านหน้ามีกระเป๋าเฉียงด้านละ ๑ กระเป๋า ด้านหลังมีกระเป๋าเจาะข้างละ ๑ กระเป๋า
ขากางเกงมีกระเป๋าข้างละ ๑ กระเป๋า กลางปกกระเป๋าขัดดุม ๑ ดุม ปลายขากางเกงติดซิปสำหรับรัดปลายขากางเกง
ขากางเกงทั้งสองข้างติดแถบสะท้อนแสงสีเงินขนาดกว้าง ๒ เซนติเมตร รอบกระบอกขา ข้างละ ๒ แถบ (บริเวณ
กึ่งกลางหน้าขา ๑ แถบ กึ่งกลางหน้าแข้ง ๑ แถบ) เมื่อสวมชุดนี้ไม่ต้องใช้เข็มขัด
เสื้อแบบ (๑) และ (๒) ให้ปักชื่อและชื่อสกุล ด้วยไหมสีดำ ขนาดตัวอักษรสูงไม่เกิน ๑ .๕ เซนติเมตร ไว้
เหนือกระเป๋าเสื้อด้านขวา และให้ปักตำแหน่งตามสายงานปกติหรือตำแหน่งในศูนย์ อปพร. ด้วยไหมสีดำ ตัวอักษร
ขนาดเดียวกับชื่อและชื่อสกุลไว้เหนือกระเป๋าเสื้อด้านซ้าย ที่กึ่งกลางโคนแขนเสื้อด้านขวาประดับเครื่องหมาย
อปพร. ทำจากแผ่นผ้าปักด้วยไหม ขนาดกว้าง ๖.๕ เซนติเมตร ยาว ๙ เซนติเมตร และที่กึ่งกลางโคนแขนเสื้อด้านซ้าย
มีแผ่นผ้าโค้งไปตามแนวตะเข็บเสื้อ พื้นสีดำ เดินขอบด้วยไหมสีทอง ภายในปักชื่อศูนย์ อปพร. ที่สังกัด พร้อมทั้ง
ชื่ออำเภอและจังหวัดที่ศูนย์นั้นตั้งอยู่ด้วยไหมสีทอง ขนาดตัวอักษรสูง ๑ เซนติเมตร
ข้อ ๓ กางเกง มี ๑ แบบ คือ กางเกงขายาวสีกากีไม่พับปลายขา ปลายขายาวปิดตาตุ่ม กว้างไม่น้อยกว่า
๑๘ เซนติเมตร และไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ที่ขอบเอวมีห่วงทำด้วยผ้าสีเดียวกับกางเกง ขนาดกว้างไม่เกิน
๑ เซนติเมตร จำนวน ๗ ห่วง สำหรับสอดเข็มขัด ที่แนวตะเข็บกางเกงด้านข้างมีกระเป๋าเจาะ ข้างละ ๑ กระเป๋า
ปากกระเป๋าเฉียงไม่มีปก ในแนวตะเข็บขากางเกงทั้งสองข้างมีกระเป๋าปะยึดชาย ชายล่างเย็บติดกับกางเกง
ชายหลังจีบเพื่อให้ขยายตัวได้มีปกรูปสี่เหลี่ยม ชายปกด้านบนและด้านหน้าเย็บติดกับขากางเกง ขัดดุมที่กึ่งกลาง
ปกและมุมปกที่เปิดแห่งละ ๑ ดุม ด้านหลังมีกระเป๋าหลัง ๒ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเจาะ มีปกรูปสี่เหลี่ยม ขัดดุม
๒ ดุม ตรงมุมปกด้านล่าง
กางเกงนี้เมื่อสวมประกอบกับรองเท้าสูงครึ่งน่อง หรือรองเท้าเดินป่า ให้สอดปลายขากางเกงไว้ภายใน
รองเท้า แต่ในบางโอกาสจะไม่สอดปลายขากางเกงไว้ภายในรองเท้าก็ได้
ข้อ ๔ เข็มขัด มี ๑ แบบ คือ เข็มขัดด้ายถักสีดำ ขนาดกว้าง ๓ เซนติเมตร หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะรมดำ
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง ๔ เซนติเมตร โปร่งไม่มีเข็มสอดรูปลายเข็มขัดหุ้มด้วยโลหะรมดำกว้าง ๑ เซนติเมตร
-๔-
ข้อ ๕ รองเท้า มี ๓ แบบ คือ
(๑) รองเท้าสูงครึ่งน่อง ทำด้วยหนังสีดำ
(๒) รองเท้าเดินป่า สีดำ
(๓) รองเท้าหุ้มข้อ หรือหุ้มส้น ทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนัง หรือผ้าใบ สีดำ
รองเท้าทุกแบบต้องมีส้น ไม่มีริ้วและลวดลาย
ข้อ ๖ ถุงเท้า มี ๑ แบบ คือ ถุงเท้าสีดำ
ส่วนที่ ๒
เครื่องแบบชุดปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัย
ข้อ ๑ หมวก มี ๑ แบบ คือ หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีน้ำเงินเข้ม แบบ ๖ กลีบ หน้าหมวกมีเครื่องหมาย
รูปอุณาโลม ทำจากแผ่นผ้าปักด้วยไหม ขนาดกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ยาว ๔ เซนติเมตร และมีตัวอักษร คำว่า
“เมตตา กล้าหาญ” อยู่ใต้เครื่องหมายรูปอุณาโลม
ข้อ ๒ เสื้อ มี ๑ แบบ คือ เสื้อคอเปิดสีส้ม บ่าและส่วนบนหน้า - หลังสีน้ำเงินเข้ม ตัวเสื้อปล่อยยาวถึง
สะโพก ปกเสื้อแบะ มุมปกแหลม ตัวเสื้อด้านหน้าผ่าตลอด ไม่มีสาบกระดุม ติดซิปยาวตลอดและติดแถบกาว
เป็นระยะ แขนเสื้อยาว สาบแขนเสื้อสีน้ำเงินเข้ม ที่ปลายแขนเสื้อทั้งสองติดแถบรัดข้อมือสีน้ำเงินเข้ม กว้าง
๕ .๕ เซนติเมตร ตัวเสื้อด้านหน้ามีกระเป๋าบนข้างละ ๑ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเจาะ มีใบปกกระเป๋าสีน้ำเงินเข้ม
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดแถบกาวที่กึ่งกลาง เมื่อสวมเสื้อนี้ให้สอดชายเสื้อไว้ในกางเกง
ตัวเสื้อด้านหน้าให้ปักชื่อและชื่อสกุล ด้วยไหมสีเหลืองทอง ขนาดตัวอักษรสูงไม่เกิน ๑ .๕ เซนติเมตร
ไว้เหนือกระเป๋าด้านขวา ตัวเสื้อด้านหลังส่วนบนปักข้อความคำว่า “ชุดปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัย” ด้วยไหมสีส้ม ขนาด
ตัวอักษรสูงไม่เกิน ๓ เซนติเมตร และใต้ข้อความ “ชุดปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัย” ปักข้อความระบุว่าเป็น “อบต. ใด
หรือเทศบาลใด หรือเมืองพัทยา” ขนาดตัวอักษรสูงไม่เกิน ๒.๕ เซนติเมตร และที่กึ่งกลางลำตัวและกึ่งกลาง
แขนเสื้อทั้ง ๒ ข้าง ติดแถบสะท้อนแสงสีเงิน ขนาดกว้าง ๓ .๕ เซนติเมตร ๑ แถบ ยาวรอบตัวเสื้อและกระบอกแขน
ที่กึ่งกลางโคนแขนเสื้อด้านขวาประดับเครื่องหมาย อปพร. ทำจากแผ่นผ้าปักด้วยไหม ขนาดกว้าง ๖ .๕ เซนติเมตร
ยาว ๙ เซนติเมตร และที่กึ่งกลางโคนแขนเสื้อข้างซ้ายมีแผ่นผ้าโค้งไปตามแนวตะเข็บเสื้อ พื้นสีดำ เดินขอบด้วย
ไหมสีเหลืองทอง ภายในปักชื่อศูนย์ อปพร. ที่สังกัด พร้อมทั้งชื่ออำเภอ และจังหวัดที่ศูนย์นั้นตั้งอยู่ ด้วยไหม
สีเหลืองทอง ขนาดตัวอักษรสูง ๑ เซนติเมตร
ข้อ ๓ กางเกง มี ๑ แบบ คือ กางเกงขายาวสีน้ำเงินเข้ม ไม่พับปลายขา ปลายขายาวปิดตาตุ่ม กว้าง
ไม่น้อยกว่า ๑๘ เซนติเมตร และไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ที่ขอบเอวมีห่วงทำด้วยผ้าสีเดียวกับกางเกง ขนาดกว้าง
ไม่เกิน ๑ เซนติเมตร ๗ ห่วง สำหรับสอดเข็มขัด ที่แนวตะเข็บขากางเกงด้านข้าง มีกระเป๋าเจาะเฉียงไม่มีปก
ข้างละ ๑ กระเป๋า ในแนวตะเข็บขากางเกงทั้งสองข้างมีกระเป๋าปะยึดชาย ชายล่างเย็บติดกับกางเกง ชายหลังจีบ
-๕-
เพื่อให้ขยายตัวได้ มีใบปกกระเป๋าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชายปกด้านบนและด้านหน้าเย็บติดกับขากางเกง
ติดแถบกาวที่กึ่งกลางปก ด้านหลังมีกระเป๋าหลัง ๒ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเจาะ มีใบปกกระเป๋ารูปสี่เหลี่ยม
ติดแถบกาวที่กึ่งกลางปก บริเวณใต้เข่าติดแถบสะท้อนแสงสีเงิน ขนาดกว้าง ๓ .๕ เซนติเมตร ๑ แถบ รอบขากางเกง
ทั้ง ๒ ข้าง
กางเกงนี้เมื่อสวมประกอบกับรองเท้าสูงครึ่งน่องหรือรองเท้าเดินป่า ให้สอดปลายขากางเกงไว้ภายใน
รองเท้า แต่ในบางโอกาสจะไม่สอดปลายขากางเกงไว้ภายในรองเท้าก็ได้
ข้อ ๔ เข็มขัด มี ๑ แบบ คือ เข็มขัดด้ายถักสีดำ ขนาดกว้าง ๓ เซนติเมตร หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะรมดำ
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง ๔ เซนติเมตร โปร่งไม่มีเข็มสอดรูปลายเข็มขัดหุ้มด้วยโลหะรมดำ กว้าง ๑ เซนติเมตร
ข้อ ๕ รองเท้า มี ๒ แบบ คือ
(๑) รองเท้าสูงครึ่งน่อง ทำด้วยหนังสีดำ
(๒) รองเท้าเดินป่า สีดำ
รองเท้าทุกแบบต้องมีส้น ไม่มีริ้วและลวดลาย
ข้อ ๖ ถุงเท้า มี ๑ แบบ คือ ถุงเท้าสีดำ
เครื่องแบบชุดปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัยนี้ให้ใช้ได้ สำหรับ อปพร. ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการกู้ชีพกู้ภัย
หรือหลักสูตรวิทยากรกู้ชีพกู้ภัยของศูนย์ อปพร. กลาง
ส่วนที่ ๓
เครื่องแบบชุดพิธีการ
ข้อ ๑ หมวก มี ๑ แบบ คือ หมวกหนีบสีกากี มีลักษณะตอนหน้าและตอนหลังลาดมน มีสาบโดยรอบ
ป้ายเฉียงจากทางด้านหน้าลงไปทางด้านซ้าย ด้านซ้ายเหนือขอบหมวกห่างจากมุมพับด้านหน้า ๔ เซนติเมตร
มีเครื่องหมายรูปอุณาโลมทำด้วยโลหะสีทอง ขนาดกว้าง ๓ .๕ เซนติเมตร ยาว ๔ เซนติเมตร ริมบนของสาบหมวก
มีขลิบ ขนาดกว้าง ๐.๕ เซนติเมตร ขลิบของหมวกมีรายละเอียดแตกต่างกัน ดังนี้
(๑) หมวกที่มีขลิบทำด้วยแถบไหมสีทอง ๒ แถบ ใช้กับผู้มีสิทธิสวมเครื่องแบบ อปพร. ตามข้อ ๔๑
วรรคสอง ที่เป็นข้าราชการ ประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ประเภทอำนวยการ
ระดับสูง และประเภทบริหารระดับต้น หรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.เทศบาลนคร ผู้อำนวยการ
ศูนย์ อปพร.เทศบาลเมือง ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.เมืองพัทยา
(๒) หมวกที่มีขลิบทำด้วยแถบไหมสีทอง ๑ แถบ ใช้กับผู้มีสิทธิสวมเครื่องแบบ อปพร. ตามข้อ ๔๑
วรรคสอง ที่เป็นข้าราชการ ประเภททั่วไประดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และประเภท
อำนวยการระดับต้น หรือเทียบเท่า ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.เทศบาลตำบล ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.องค์การ
บริหารส่วนตำบล รองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.เทศบาลนคร รองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.เทศบาลเมือง และ
รองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.เมืองพัทยา
-๖-
(๓) หมวกที่มีขลิบทำด้วยแถบไหมสีเงิน ๑ แถบ ใช้กับผู้มีสิทธิสวมเครื่องแบบ อปพร. ตามข้อ ๔๑
วรรคสอง ที่มิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๑) และ (๒)
(๔) หมวกที่มีขลิบทำด้วยแถบไหมสีแดง ๑ แถบ ใช้กับคณะกรรมการประสานงานศูนย์ อปพร.
จังหวัด และคณะกรรมการประสานงานศูนย์อปพร.กรุงเทพมหานคร
(๕) หมวกที่มีขลิบทำด้วยแถบไหมสีดำ ๑ แถบ ใช้กับ อปพร.
ข้อ ๒ เสื้อ มี ๑ แบบ คือ เสื้อคอพับสีกากีแขนยาวรัดข้อมือ มีดุมที่ข้อมือข้างละ ๑ ดุม มีกระเป๋าเย็บติด
ที่หน้าอกเสื้อข้างละ ๑ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเสื้อชนิดไม่มีแถบกลางกระเป๋า ใบปกกระเป๋าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
มุมกระเป๋าและมุมปกกระเป๋าเป็นรูปตัดพองาม ที่ปากกระเป๋าทั้งสองข้างติดดุมข้างละ ๑ ดุม สำหรับขัดใบกระเป๋า
ตัวเสื้อด้านหน้าผ่าตลอด มีสาบกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ติดดุมตามแนวอกเสื้อ ๕ ดุม ระยะห่างกันพอสมควร
ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อ ยาวตามความยาวของบ่า เย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่
ไปคอปลายมน ด้านไหล่กว้าง ๔ เซนติเมตร ด้านคอกว้าง ๓ เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ ดุมทั้งสิ้น
ใช้ดุมกลมแบนทำด้วยวัตถุสีเดียวกับเสื้อ ปกเสื้อประดับอักษร “อปพร.” ทำด้วยโลหะสีทองทั้งสองด้าน โดย
ตัวอักษรขนานกับขอบปกเสื้อด้านบน ห่างประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร และห่างขอบปกเสื้อด้านหน้าประมาณ
๒ เซนติเมตร
ให้มีป้ายชื่อทำด้วยโลหะพื้นสีดำ ขนาดกว้างไม่เกิน ๒.๕ เซนติเมตร ยาวไม่เกิน ๗.๕ เซนติเมตร ติดไว้
เหนือกระเป๋าเสื้อด้านขวา และที่กึ่งกลางโคนแขนเสื้อด้านขวาประดับเครื่องหมาย อปพร. ทำจากแผ่นผ้าปักด้วยไหม
ขนาดกว้าง ๖ .๕ เซนติเมตร ยาว ๙ เซนติเมตร ส่วนที่กึ่งกลางโคนแขนเสื้อด้านซ้ายมีแผ่นผ้าโค้งไปตามแนวตะเข็บ
เสื้อ พื้นสีดำเดินขอบด้วยไหมสีทอง ภายในปักชื่อศูนย์ อปพร.ที่สังกัดพร้อมทั้งชื่ออำเภอและจังหวัดที่ศูนย์นั้นตั้งอยู่
ด้วยไหมสีทองขนาดตัวอักษรสูง ๑ เซนติเมตร
สำหรับผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อ
เหนือกระเป๋าด้านซ้าย
ข้อ ๓ กางเกง หรือกระโปรง มี ๑ แบบ แล้วแต่กรณี คือ
(๑) ชาย ให้ใช้กางเกงแบบราชการสีกากีขายาวไม่พับปลายขา
(๒) หญิง ให้ใช้กระโปรงสีกากี ยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย ไม่มีกระเป๋า
ข้อ ๔ เข็มขัดมี ๑ แบบ คือ เข็มขัดด้ายถักสีดำ ขนาดกว้าง ๓ เซนติเมตร หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทอง
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลายมน กว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ยาว ๕ เซนติเมตร มีเครื่องหมาย อปพร. ขนาดกว้าง
๒ เซนติเมตร ยาว ๓ เซนติเมตร อยู่กึ่งกลางหัวเข็มขัด ปลายเข็มขัดหุ้มด้วยโลหะสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร
ข้อ ๕ รองเท้ามี ๑ แบบ คือ รองเท้าหุ้มส้น ทำด้วยหนัง หรือวัตถุเทียมหนัง สีดำ
ข้อ ๖ ถุงเท้ามี ๑ แบบ คือ ถุงเท้าสีดำ
-๗-
เครื่องหมาย อปพร.
ส่วนที่ ๑
ลักษณะของเครื่องหมาย อปพร.
ข้อ ๑ เครื่องหมาย อปพร. มีรูปทรงคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านข้างยาวกว่าด้านบน โดยด้านบนเป็นด้านตัด
ส่วนด้านล่างมีลักษณะโค้งมน ภายในมีรูปธงชาติไทยอยู่ด้านบน ตรงกลางมีรูปมือขวาและในอุ้งมือมีรูปวงกลม
ซึ่งภายในวงกลมมีเส้นตรง ๒ เส้น ตัดกันเป็นลักษณะเครื่องหมายคูณ แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน เท่ากัน โดยมี
สัญลักษณ์ของไฟอยู่ในพื้นที่ส่วนบน คลื่นน้ำอยู่ส่วนล่าง ลูกระเบิดอยู่ส่วนซ้าย และลมพายุอยู่ส่วนขวา และมีช่อ
ชัยพฤกษ์ ๑ ช่อ เป็นรูปโค้งขึ้นรองรับรูปมืออยู่ทางด้านซ้าย
ทั้งนี้ รูปมือขวา และช่อชัยพฤกษ์ เป็นสีน้ำเงิน รูปวงกลมในอุ้งมือมีสีพื้นเป็นสีแดง เส้นตัดแบ่งภายใน
เป็นสีเหลือง สัญลักษณ์ของไฟ คลื่นน้ำ ลูกระเบิด และลมพายุ เป็นสีขาว ส่วนสีพื้นของเครื่องหมายเป็นสีเหลือง
ส่วนที่ ๒
ความหมายของเครื่องหมาย อปพร.
ข้อ ๒ เครื่องหมาย อปพร. อธิบายความหมายได้ ดังนี้
(๑) ธงชาติไทย หมายถึง สถาบันสูงสุด คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
(๒) มือขวา หมายถึง การให้การป้องกัน ช่วยเหลือ และบรรเทาภัย
(๓) คลื่นน้ำ หมายถึง อุทกภัย
(๔) ลมพายุ หมายถึง วาตภัย
(๕) ไฟ หมายถึง อัคคีภัย
(๖) ลูกระเบิด หมายถึง ลูกระเบิดนิวเคลียร์ อาวุธเคมีชีวะ ภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรม
(๗) ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึง ความสำเร็จ
ส่วนที่ ๓
ประเภทของเครื่องหมาย อปพร.
ข้อ ๓ เครื่องหมาย อปพร . มี ๒ ประเภท ดังนี้
(๑) เครื่องหมายสำหรับใช้ประกอบเครื่องแบบ อปพร. มีขนาดและวัสดุตามรายละเอียดที่กำหนดในส่วน
ของเครื่องแบบ
(๒) เครื่องหมายที่ไม่ใช้ประกอบเครื่องแบบ อปพร. สำหรับมอบให้แก่สมาชิก อปพร. ที่ผ่านการฝึกอบรม
ตามข้อ ๓๔ เป็นเข็มโลหะ มีขนาดกว้าง ๒.๕ เซนติเมตร ยาว ๓.๕ เซนติเมตร
-๘-
ส่วนที่ ๔
การประดับเครื่องหมาย
ข้อ ๔ ให้ประดับเครื่องหมาย อปพร. ดังนี้
(๑) เครื่องหมายสำหรับใช้ประกอบเครื่องแบบ อปพร. ตามข้อ ๓ (๑) การประดับให้เป็นไปตามที่กำหนด
ในส่วนของเครื่องแบบ
(๒) เครื่องหมายที่ไม่ใช้ประกอบเครื่องแบบ อปพร. ตามข้อ ๓ (๒) ใช้สำหรับกรณีที่ไม่ได้สวม
เครื่องแบบ อปพร. โดยให้ประดับไว้ที่อกเสื้อเหนือแนวกระเป๋าเบื้องขวา
- ๙ -
แบบบัตรประจำตัวอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยกิจการอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๓
(ด้านหน้า)
๕.๔ ซ.ม.
๘.๔ ซ.ม.
(ด้านหลัง)
หมายเหตุ
๑. บัตรประจำตัว อปพร. ทำด้วยกระดาษแข็ง สีขาว โดยมีขนาดและลักษณะตามที่กำหนด
๒. ด้านหน้าบัตร ให้ประทับตราประจำหน่วยงานของผู้ออกบัตร ด้วยหมึกสีแดง หรือประทับเป็นรอยดุนนูน
๓. ด้านหลังบัตร ให้พิมพ์เครื่องหมาย อปพร. ด้วยหมึกสีดำ ขนาดกว้าง ๑.๒ เซนติเมตร ยาว ๑.๖ เซนติเมตร
.............................
ลายมือชื่อเจ้าของบัตร
หมู่โลหิต................
เลขประจำตัวประชาชนของผู้ถือบัตร
........................................................................
ชื่อ...................................................................
สังกัดศูนย์ อปพร. ..........................................
..................................................................
(.....................................................................)
ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร/จังหวัด
....................................................................................
รูปถ่าย
๒.๕x๓.๕ ซ.ม.
บัตรประจำตัว
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
เลขที่..............................
ศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร/จังหวัด............................
วันออกบัตร......../........./........ บัตรหมดอายุ......../........./........
-๑๐-
เครื่องหมาย อปพร.
ธงชาติไทย
มือขวา
(สีน้ำเงิน)
ช่อชัยพฤกษ์
(สีน้ำเงิน)
กรอบสีทอง
พื้นสีเหลือง
ไฟ (สีขาว)
ลมพายุ (สีขาว)
ลูกระเบิด (สีขาว)
พื้นในอุ้งมือสีแดง
คลื่นน้ำ (สีขาว)
-๑๑-
เครื่องแบบชุดฝึกหรือชุดปฏิบัติการ
หมวกแก๊ปทรงอ่อนแบบ ๖ กลีบ
ใช้กับบุคคลแตกต่างกัน ดังนี้
(๑) ใช้กับผู้มีสิทธิสวมเครื่องแบบ อปพร. ตามข้อ ๔๑ วรรคสอง ที่เป็น
ข้าราชการ ประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ
ประเภทอำนวยการระดับสูง และประเภทบริหารระดับต้น หรือเทียบเท่าขึ้นไป
ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เทศบาลนคร ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เทศบาลเมือง
ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เมืองพัทยา
(๒) ใช้กับผู้มีสิทธิสวมเครื่องแบบ อปพร. ตามข้อ ๔๑ วรรคสอง ที่เป็น
ข้าราชการ ประเภททั่วไประดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และ
ประเภทอำนวยการระดับต้น หรือเทียบเท่า ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เทศบาลตำบล
ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. องค์การบริหารส่วนตำบล รองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.
เทศบาลนคร รองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เทศบาลเมือง และรองผู้อำนวยการศูนย์
อปพร. เมืองพัทยา
(๓) ใช้กับผู้มีสิทธิสวมเครื่องแบบ อปพร. ตามข้อ ๔๑ วรรคสองที่มิใช่
ผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๑) และ (๒)
(๔) ใช้กับคณะกรรมการประสานงานศูนย์ อปพร. จังหวัด และ
คณะกรรมการประสานงานศูนย์ อปพร. กรุงเทพมหานคร
(๕) ใช้กับ อปพร.
-๑๒-
เครื่องหมายหนา้ หมวก
รูปอุณาโลม
ี ้ํ
๔ ซม.
กรอบสีนำตาล
พื้นสีน้ำตาล
รัศมี ( สีเหลือง )
รูปอุณาโลม ( สีเหลือง )
แพร ( สีเหลือง )
ตัวอักษร ( สีดำ )
๓.๕ ซม.
-๑๓-
สัญลักษณ์บนกะบังหมวก
๑. รูปช่อชัยพฤกษ์ ๒ ช่อ
ตามแบบ (๑)
ป ่ ์ ่
ช่อชัยพฤกษ์สีทอง
( ๒ ช่อ )
ดาว ๘ แฉก
( มีตราสิงห์อยู่ภายใน )
๒. รูช่อชัยพฤกษ์ ๑ ช่อ
ตามแบบ (๒)
้
ดาว ๘ แฉก
ช่อชัยพฤกษ์สีทอง ( มีตราสิงหอ์ ยูภ่ ายใน )
( ๑ ช่อ )
๓. มีดิ้นทองที่กะบังหมวก ๑ เส้น
ตามแบบ (๔)
ดิ้นทองห่างจากขอบกะบังหมวก ๑ ซม.
ดิ้นทองกว้าง ๑ ซม.
-๑๔-
เครื่องแบบชุดฝึกหรือชุดปฏิบัติการ
(๑) เสื้อคอเปิดสีกากี (แบบที่ ๑)
(๒) เสื้อคอเปิดสีกากี (แบบที่ ๒)
ด้านหน้า
ด้านซ้าย ด้านขวา
ด้านหลัง
ด้านหน้า
-๑๕-
การปักชื่อและชื่อสกุล และตำแหน่งสายงานปกติ
ไหมสีดำ ตัวอักษรสงไม่เกิน ๑ ๕ ซม ไหมส สดา ตอสูไมเก๑.๕ . สีดำา ตัวอักษรสูงไมเ่เกิน ๑.๕ ซม.
-๑๖-
เครื่องหมายแผ่นผ้า ระบุชื่อหน่วยสังกัด
ตัวอักษรไหมสีทอง
ขนาดตัวอักษรสูง ๑ ซม.
ขอบไหมสีทอง
พื้นสีดำ
-๑๗-
เครื่องแบบชุดฝึกหรือชุดปฏิบัติการ
(๓) เสื้อกั๊กแบบทั้งตัวเว้าหน้า
ด้านหน้า
ด้านหลัง
แถบสะท้อนแสง กว้าง ๔ ซม.
เครื่องหมาย อปพร.
กว้าง ๑๕ ซม. ยาว ๒๑ ซม.
กุ๊นชายเสื้อสีดำ
แถบสะท้อนแสง กว้าง ๔ ซม.
ตัวอักษรสีขาว สูง ๘ ซม.
ตัวอักษรสีขาว สูง ๒ ซม.
ผ้าตาข่ายเส้นใย POLYESTER
สีส้ม
-๑๘-
เครื่องแบบชุดฝึกหรือชุดปฏิบัติการ
(๔) เสื้อยืดคอเชิ้ตแขนยาวสีดำ
ด้านหน้า
ด้านหลัง
เครื่องหมาย อปพร. กว้าง ๓ ซม. ยาว ๔ ซม.
เครื่องหมาย อปพร. กว้าง ๖.๕ ซม. ยาว ๙ ซม.
แถบสะท้อนแสง กว้าง ๒ ซม.
ศูนย์ อปพ
อักษรสีขาว สูง ๔ ซม.
อักษรสีขาว สูง ๒ ซม.
อำเภอ...........
แถบสะท้อนแสง กว้าง ๒ ซม.
-๑๙-
่
(๕) เสื้อต่อเนื่องกับกางเกง (ชุดสวม)
ด้านหน้า ด้านหลัง
เครื่องแบบชุดฝึกหรือชุดปฏิบัติการ
ดานา ดาลแผ่นผ้าเครื่องหมาย อปพร.
แผ่นผ้าสีดำ ปักหน่วย อปพร. ที่สังกัด
ปั ื่ ่
แถบสะท้อนแสง
กว้าง ๒ ซม.
กชือ และตำแหน่ง
อักษรสีขาว สูง ๖ ซม.
แถบสะท้อนแสง กว้าง ๒ ซม.
-๒๐-
เครื่องแบบชุดฝึกหรือชุดปฏิบัติการ
กางเกง
ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง
เข็มขัด
โลหะรมดำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้ายถักสีดำ กว้าง ๓ เซนติเมตร
กว้าง ๔ เซนติเมตร โปร่งไม่มีเข็มสอดรู
-๒๑-
เครื่องแบบชุดปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัย
หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีน้ำเงินเข้ม แบบ ๖ กลีบ
เครื่องหมายรูปอุณาโลม
ขนาดกว้าง ๓.๕ ซม. ยาว ๔ ซม.
-๒๒-
เครื่องแบบชุดปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัย
เสื้อ
ด้านหน้า ด้านหลัง
ข้างขวา ข้างซ้าย
กางเกง และเข็มขัด
ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง
เครื่องหมาย อปพร.
ปักชื่อศูนย์ อปพร. ที่สังกัด ด้วยไหม
สีเหลืองทอง ตัวอักษรสูงไม่เกิน ๑ ซม.
หัวเข็มขัด ทำด้วยโลหะรมดำ
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง ๔ ซม.
โปร่งไม่มีเข็มสอดรู
แถบสะท้อนแสงสีเงิน กว้าง ๓.๕ ซม.
เข็มขัดด้ายถัก สีดำ กว้าง ๓ ซม.
ปักชื่อ-สกุล ด้วยไหมสีเหลืองทองตัวอักษร
สูงไม่เกิน ๑.๕ ซม.
ตัวอักษรปักด้วยไหมสีส้ม สูงไม่เกิน ๓ ซม.
แถบสะท้อนแสงสีเงิน กว้าง ๓.๕ ซม.
แถบรัดข้อมือ ผ้าสีน้ำเงินเข้ม กว้าง ๕.๕ ซม.
ตัวอักษรปักด้วยไหมสีส้ม สูงไม่เกิน ๒.๕ ซม.
-๒๓-
เครื่องแบบชุดพิธีการ
หมวกหนีบสีกากี
ใช้กับบุคคลแตกต่างกัน ดังนี้
(๑) ใช้กับผู้มีสิทธิสวมเครื่องแบบ อปพร.
ตามข้อ ๔๑ วรรคสอง ที่เป็นข้าราชการ ประเภททั่วไป
ระดับทักษะพิเศษ ประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ
ประเภทอำนวยการระดับสูง และประเภทบริหารระดับต้น
หรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เทศบาลนคร
ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เทศบาลเมือง ผู้อำนวยการศูนย์
อปพร. เมืองพัทยา
(๒) ใช้กับผู้มีสิทธิสวมเครื่องแบบ อปพร.
ตามข้อ ๔๑ วรรคสองที่เป็นข้าราชการ ประเภททั่วไป
ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ
และประเภทอำนวยการระดับต้น หรือเทียบเท่า
ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เทศบาลตำบล ผู้อำนวยการศูนย์
อปพร. องค์การบริหารส่วนตำบล รองผู้อำนวยการศูนย์
อปพร. เทศบาลนคร รองผู้อำ นวยการศูนย์ อปพร.
เทศบาลเมือง และรองผู้อำนวยการศูนย์ อปพร. เมืองพัทยา
(๓) ใช้กับผู้มีสิทธิสวมเครื่องแบบ อปพร.
ตามข้อ ๔๑ วรรคสอง มิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๑)
และ (๒)
(๔) ใช้กับคณะกรรมการประสานงานศูนย์
อปพร. จังหวัด และคณะกรรมการประสานงานศูนย์
อปพร. กรุงเทพมหานคร
(๕) ใช้กับ อปพร.
แถบไหมสีทอง ๒ แถบ
ตราอุณาโลม
ทำด้วยโลหะสีทอง
ขนาดกว้าง ๓.๕ ซม.
ยาว ๔ ซม.
-๒๔-
เครื่องแบบชุดพิธีการ
เสื้อ
อินทรธนู ด้านไหล่กว้าง ๔ ซม.
ด้านคอกว้าง ๓ ซม.
ปกเสื้อประดับอักษร อปพร.
ทำด้วยโลหะสีทอง
เครื่องหมาย อปพร.
สาบเสื้อกว้าง ๓.๕ ซม.
๒ ซม. ๒ ซม.
๑.๕ ซม.
การประดับอักษร อปพร.
ป้ายชื่อ โลหะ พื้นสีดำ แผ่นผ้าสีดำระบุสังกัด
-๒๕-
เครื่องแบบชุดพิธีการ
กางเกงแบบราชการขายาว ไม่พับปลายขา (ชาย)
ด้านหน้า ด้านหลัง
กระโปรงยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย (หญิง)
เข็มขัดด้ายถักสีดำ
ขนาดกว้าง ๓ ซม.
หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทองขนาดกว้าง
๓.๕ ซม. ยาว ๕ ซม. มีเครื่องหมาย อปพร.
ขนาด กว้าง ๒ ซม. ยาว ๓ ซม.
อยู่กึ่งกลางหัวเข็มขัด
๓ ซม. ๓.๕ ซม.
๒ ซม.
๕ ซม.
-๒๖-
การสวมเครื่องแบบชุดฝึกหรือชุดปฏิบัติการ
(๑) เสื้อคอเปิดสีกากี (แบบที่ ๑)
-๒๗-
การสวมเครื่องแบบชุดฝึกหรือชุดปฏิบัติการ
(๒) เสื้อคอเปิดสีกากี (แบบที่ ๒)
-๒๘-
การสวมเครื่องแบบชุดฝึกหรือชุดปฏิบัติการ
(๓) เสื้อกั๊กแบบทั้งตัวเว้าหน้า
หมายเหตุ ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน จะสวมเสื้อกั๊กแบบทั้งตัวเว้าหน้าประกอบกับเครื่องแต่งกายชุดใดก็ได้
-๒๙-
การสวมเครื่องแบบชุดฝึกหรือชุดปฏิบัติการ
(๔) เสื้อยืดคอเชิ้ตแขนยาวสีดำ
-๓๐-
การสวมเครื่องแบบชุดฝึกหรือชุดปฏิบัติการ
(๕) เสื้อต่อเนื่องกับกางเกง (ชุดสวม)
-๓๑-
การสวมเครื่องแบบชุดปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัย
-๓๒-
การสวมเครื่องแบบชุดพิธีการ (ชาย)
-๓๓-
การสวมเครื่องแบบชุดพิธีการ (หญิง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น