09.46 น. รมว.ก.ทรัพย์ฯตรวจBST ยืนยันยอดตาย12 (เสียชีวิตในโรงงาน 9 ที่โรงพยาบาล 3) ย้ำไฟดับแล้ว
สาเหตุน่าจะคล้าย ๆ กัน ลองดูทางนี้
http://youtu.be/PqskpvPejeU
07.55.น.ผู้ว่า จ.ระยอง สรุปเพลิงไหม้นิคมฯมาบตาพุดวานนี้ ยอดคนเจ็บทั้งหมด 120คน เสียชีวิต9คน เพลิงสงบสิ้นเชิงตอนตี1 ไม่มีสารเคมีรั่วไหล
ผู้ว่าการนิคมฯ เตือนปชช. ในพื้นที่จ. ระยองหลีกเลี่ยงน้ำฝน
ภาพถ่ายทางอากาศสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้
นักผจญเพลิงเริ่มมีการสับเปลี่ยนกำลังเป็นที่ชุดที่ 2 หลังชุดแรกปฏิบัติภารกิจมาตั้งแต่ต้น
Toluene
โดย นพ. วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
ชื่อ โทลูอีน (Toluene)
ชื่ออื่น Methylbenzene, Methylbenzol, Phenylmethane, Toluol
สูตรโมเลกุล C 6H 5CH 3 หรือ C 7H 8
น้ำหนักโมเลกุล 92.1
CAS Number 108 – 88 – 3
UN Number 1294
ลักษณะทางกายภาพ ของเหลว ไม่มีสี มีกลิ่นหอมอโรมาติก ระเหยเป็นไอได้
คำอธิบาย โทลูอีนเป็นตัวทำละลายอินทรีย์กลุ่มอโรมาติก ที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างมากมาย เช่น สี กาว ทินเนอร์ แลคเกอร์ หมึกพิมพ์ เป็นต้น ลักษณะทางกายภาพสารนี้เป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นหอมอโรมาติก เป็นสารปิโตรเคมีที่ได้จากการกลั่นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พิษของโทลูอีนคือ ทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุ กดประสาท ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นพิษต่อตับและไต
ค่ามาตรฐานในสถานที่ทำงาน ACGIH TLV – TWA 20 ppm || NIOSH REL – TWA 100 ppm (375 mg/m 3) STEL 150 ppm (560 mg/m 3) || OSHA PEL 200 ppm, Ceiling 300 ppm, maximum 500 ppm in 10 minutes || IDLH – 500 ppm || กฎหมายไทย TWA 200 ppm, Ceiling 300 ppm, Maximum 500 ppm in 10 minutes
ค่ามาตรฐานในสิ่งแวดล้อม EPA NAAQS – N/A || กฎหมายสิ่งแวดล้อมไทย – N/A
ค่ามาตรฐานในร่างกาย ACGIH BEI – o-cresol ในปัสสาวะหลังเลิกงาน 0.5 mg/L, Hippuric acid ในปัสสาวะหลังเลิกงาน 1.6 g/g Cr, Toluene in blood ก่อนเข้างานวันสุดท้ายของสัปดาห์ 0.05 mg/L
คุณสมบัติก่อมะเร็ง IARC Group 3 || ACGIH A4 Carcinogenicity
แหล่งที่พบในธรรมชาติ โดยปกติไม่พบในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นสารสังเคราะห์จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี แต่อาจพบปนเปื้อนในธรรมชาติได้
อุตสาหกรรมที่ใช้
- เป็นสารที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
- เป็นส่วนผสมอยู่ในน้ำมันแก็สโซลีน (gasoline)
- เป็นตัวทำละลายที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ทินเนอร์ แลคเกอร์ กาว สีทาบ้าน สีวาดรูป หมึกพิมพ์ น้ำมันวานิช น้ำมันเคลือบเงา ยาทาเล็บ ยาล้างเล็บ น้ำยาลบสี น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง น้ำยาล้างคราบมัน (เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของแต่ละบริษัท จะมีสูตรเฉพาะของตนเอง การที่เราจะทราบได้ว่า ผลิตภัณฑ์ใดมีส่วนผสมของโทลูอีนอยู่บ้างนั้น ต้องอ่านจากฉลากบรรจุผลิตภัณฑ์เป็นหลัก)
- อยู่ในรูปสารประกอบกับสาร isocyanate เช่น 2,4-toluene diisocyanate (TDI) หรือ toluene 2,6-diisocyanate ใช้ในการพ่นเคลือบสีรถยนต์ เครื่องบิน เครื่องเรือน พื้นไม้ [1]
กลไกการก่อโรค ออกฤทธิ์กดสมอง ทำให้มึนงง ซึม คล้ายคนเมา กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใ จทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ระคายเคืองต่อเยื่อบุ เช่น ตา ช่องปาก ทางเดินอาหาร เป็นพิษต่อตับและไต
การเตรียมตัวเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่นเดียวกับตัวทำละลายอินทรีย์อื่นๆ โทลูอีนติดไฟได้ง่าย (NFPA Code: H2 F3 R0) ระเหยเป็นไอได้ดีทำให้กระจายไปในอากาศได้มาก การเตรียมตัวสำหรับหน่วยกู้ภัยชุดที่ใส่ต้องเป็นชุดทนไฟ ระดับการป้องกันจะใส่ชุดระดับใดนั้นขึ้นกับสถานการณ์ แต่เนื่องจากเป็นสารไวไฟ กรณีที่มีการรั่วไหลและมีไฟไหม้ด้วยแนะนำให้ใส่ชุดป้องกันชนิดที่มีถังบรรจุอากาศในตัว (Self-contained breathing apparatus, SCBA) จะดีที่สุด
อาการทางคลินิก
- อาการเฉียบพลัน โทลูอีนเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งจากการหายใจ การกิน และซึมผ่านผิวหนัง ไอระเหยทำให้ระคายเคือง จมูก คอ ทางเดินหายใจ ไอ หลอดลมตีบ แน่นหน้าอก และปอดบวมน้ำ [2] การสัมผัสที่ผิวหนังทำให้ผิวแห้ง แดง เกิดผื่นแพ้ และตุ่มน้ำขึ้นได้ หากเข้าตาจะทำให้ระคายเคืองตา ถ้าเป็นมากอาจเกิดเยื่อบุตาขาวบวม (conjunctival hyperaemia) และกระจกตาบวมได้ (corneal edema) ฤทธิ์ต่อกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นเหตุให้ผู้ที่สัมผัสปริมาณสูงอาจเสียชีวิตแบบฉับพลันได้ (sudden death) ฤทธิ์กดประสาททำให้ ง่วงซึม มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ความรู้สึกตัวลดลง ชัก ความดันตก และหมดสติได้ [2] การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าการสัมผัสเสียงดังร่วมกับโทลูอีน จะทำให้มีโอกาสเกิดประสาทหูเสื่อมจากเสียงดังได้มากขึ้น [3]
- อาการระยะยาว การสัมผัสในระยะยาว เช่น ในคนดมกาว หรือจากการทำงานที่ไม่มีการควบคุมสภาพแวดล้อมที่ดีพอ จะทำให้มีอาการมึนเมา อ่อนเพลีย ปวดหัว วิงเวียน เบื่ออาหาร ความจำไม่ดี ความสามารถในการคิดคำนวณไม่ดี อาการทางสมองนี้สามารถเป็นอย่างถาวรได้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตับเสื่อม ไตเสื่อม (renal tubular acidosis) ระดับเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ (hypokalemia) การดื่มสุรา (ethyl alcohol) จะทำให้การกำจัดโทลูอีนออกจากร่างกายทำได้น้อยลง ในคนงานที่ทำงานสัมผัสโทลูอีนจึงไม่ควรดื่มสุราจัด เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดพิษโทลูอีนได้ [2]
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- การตรวจตัวบ่งชี้การสัมผัสสารโทลูอีนทำได้หลายวิธี ที่นิยมคือการตรวจ hippuric acid ในปัสสาวะ, o-cresol ในปัสสาวะ และ toluene ในเลือด การตรวจ hippuric acid ในปัสสาวะ เป็นการตรวจที่นิยมอย่างแพร่หลาย สาร hippuric acid เป็นเมตาโบไลต์สำคัญตัวหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับโทลูอีนเข้าสู่ร่างกาย ค่าครึ่งชีวิตของสารนี้ในปัสสาวะเท่ากับ 5 – 40 ชั่วโมง ข้อควรระวังในการแปลผลการตรวจนี้คือ 1) hippuric acid จะเกิดขึ้นได้จากการบริโภคอาหารที่ใช้ benzoic acid หรือเกลือ benzoate เช่น sodium benzoate เป็นสารกันบูดได้ด้วย ส่วนใหญ่อาหารกลุ่มนี้จะเป็นอาหารที่มีสภาวะเป็นกรด รสเค็มหรือเปรี้ยว เช่น น้ำผลไม้กระป๋อง น้ำอัดลม น้ำซ่า (sparkling) อาหารกระป๋องดอง (pickle) เป็นต้น 2) hippuric acid เกิดขึ้นได้จากการสัมผัส styrene เช่นกัน 3) การสัมผัสกับตัวทำละลายตัวอื่น เช่น xylene หรือการดื่มสุรา ethyl alcohol จะลดประสิทธิภาพของการกำจัดโทลูอีนออกจากร่างกาย จึงอาจตรวจ hippuric acid ในปัสสาวะได้ต่ำแม้ว่าจะสัมผัสโทลูอีนในปริมาณสูง [4]
- การตรวจ o -cresol ในปัสสาวะ มีค่าครึ่งชีวิตประมาณ 5 – 40 ชั่วโมงเช่นกัน การแปลผลต้องระวังในกรณีที่สัมผัสตัวทำละลายหลายชนิดพร้อมกัน และในคนที่ดื่มสุราเช่นกัน แต่มีข้อดีกว่าการตรวจ hippuric acid คือไม่ถูกรบกวนจากการกินอาหารที่มีสาร benzoic acid และ benzoate [4]
- การตรวจโทลูอีนในเลือดมีค่าครึ่งชีวิตสั้นเพียงไม่เกิน 5 ชั่วโมง จึงเหมาะจะใช้ตรวจเพื่อยืนยันการสัมผัสและควรตรวจหลังการสัมผัสไม่นาน การแปลผลต้องระวังในกรณีที่สัมผัสตัวทำละลายหลายชนิดพร้อมกัน และในคนที่ดื่มสุราเช่นกัน [4]
- การตรวจที่ช่วยในการรักษากรณีพิษจากโทลูอีน ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac enzyme) ภาพรังสีทรวงอก (Chest X-ray) ระดับเกลือแร่ในเลือด (electrolyte) ระดับก๊าซในเลือด (blood gas) การทำงานของตับ (liver function test) และการทำงานของไต (BUN, creatinine) [5]
การดูแลรักษา
- ปฐมพยาบาล กรณีอุบัติเหตุสารเคมีรั่วไหลให้รีบนำผู้ป่วยออกจากจุดเกิดเหตุให้เร็วที่สุด ทำการล้างตัวด้วยน้ำเปล่าให้มากที่สุด ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วย สังเกตระบบหายใจ ใส่ท่อช่วยหายใจถ้าหยุดหายใจ
- การรักษา ทำการล้างตัว ดูสัญญาณชีพ ให้ออกซิเจนเสริม ใส่ท่อช่วยหายใจถ้าหยุดหายใจ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างรวดเร็ว ให้การรักษาถ้ามีหัวใจเต้นผิดจังหวะ ถ้าเต้นผิดจังหวะแบบ tachyarrhythmia ให้การรักษาด้วย propanolol 1 – 2 mg IV สังเกตอาการปอดบวมน้ำ รักษาตามอาการ ไม่มียาต้านพิษสำหรับโทลูอีน
เอกสารอ้างอิง
1. Stellman JM. ILO Encyclopaedia of Occupational Health and Safety. 4 th ed. Geneva: International Labour Office 1998.
2. Farrow C, Wheeler H, Bates N, Murray V. The chemical incident management handbook. London: The Stationery Office 2000.
3. Morata TC, Dunn DE, Kretschmer LW, Lemasters GK, Keith RW. Effects of occupational exposure to organic solvents and noise on hearing. Scand J Work Environ Health. 1993 ; 19:245 - 54.
4. Lauwerys RR, Hoet P. Industrial chemical exposure: Guidelines for biological monitoring 3 rd ed. Florida: CRC Press 2001.
5. Olson KR, Anderson IB, Benowitz NL, Blanc PD, Clark RF, Kearney TE, et al. Poisoning & drug overdose. the California Poison Control System. 5 th ed. New York: McGraw-Hill 2004.
โทลูอีน (Toluene) มีคุณสมบัติหลาย ๆ อย่างคล้ายเบนซีน (Benzene) เป็นพิษคล้ายกันแต่อ่อนกว่าเบนซีน จึงมักถูกนำมาใช้แทนเบนซีน
โทลูอีน เป็นของเหลวใส มีกลิ่นคล้ายเบนซีน ไวไฟเหมือนกัน และมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น โทลูอีน,เมทิลเบนซีน และเมทิลเบนซอล เป็นต้น เป็นส่วนประกอบในน้ำมันเบนซิน (Benzine)
ขณะที่โทลูอีน 1 เปอร์เซ็นต์ ใช้ในตัวทำลายสี หมึก กาว หรือใช้เป็นสารสำหรับชะล้าง ในอุตสาหกรรมจะมีการใช้โทลูอีนเป็นสารตั้งต้นสำหรับสังเคราะห์สารอื่น ๆ มากมาย เช่น ใช้ทำโฟม ยูรีเทน ใช้สังเคราะห์สีย้อม ผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง และใช้ทำลายพยาธิปากขอ
ผลต่อสุขภาพเหมือนเบนซีน คือทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ถ้าสูดดมนาน ๆ หรือเข้าผิวหนังอย่างเช่นพวกดมกาว ระยะยาวมีผลต่อไขกระดูกและโลหิต อาจกลายเป็นมะเร็งในเม็ดเลือด และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้ การสูดดมระยะสั้น ๆ เช่นอยู่ในโรงงานที่มีไอระเหยจาง ๆ ทำให้อ่อนเพลีย อาการเหมือนมึนเมา คลื่นใส้ ความจำเสื่อมและในเยื่ออาหาร แม่ว่าจะสูดเข้าไปเดี๋ยวเดียว แต่ถ้าไอเข้มข้นมากก็ทำให้วิงเวียน หมดสติ และอาจตายได้ เพราะหายใจไม่ออก คนสูบบุหรี่และผู้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง จะมีความเสี่ยงต่อพิษโทลูอีนมากกว่าคนทั่วไป
สำหรับผิวหนังถ้าถูกโทลูอีนเป็นเวลานานซ้ำที่เดิมจะเป็นแผลอักเสบ เพราะโทลูอีนละลายไขมันตามธรรมชาติบนผิวหนังจนเกิดการอักเสบ ในที่ทำงานไม่ควรปล่อยให้มีการระเหยฟุ้งกระจาย ต้องระบายอากาศให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ จะได้ไม่สูดดมเข้าไป ถ้าหกให้ใช้ทรายซับ และเก็บในถังมิดชิด แล้วนำไปเผาทิ้งในที่ปลอดภัย ประการสำคัญอย่าลืมว่าโทลูอีนไวไฟด้วย ต้องระวังไม่ให้มีการจุดไฟ หรือประกายไฟในบริเวณใกล้เคียง
หมายเหตุ
|
Toluene
|
เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม
|
22.09 น. ยังเปลวเพลิงเป็นระยะ เจ้าหน้าฉีดน้ำควบคุมไว้ จนท.โรงงานมั่นใจไม่ลามแล้ว
แต่กู้ภัยคาดว่ามีคนเจ็บอยู่ข้างในอีก
เมื่อเวลา 20.30 น.วันนี้ (5 พ.ค.) ความคืบหน้าเหตุระเบิดภายในโรงงาน นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง หลังจากมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตไปแล้ว 6 ศพ ล่าสุดเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเพลิงไว้ได้แล้ว จากนั้นได้เข้าตรวจสอบในที่เกิดเหตุ พบศพผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 7 ราย มีสภาพถูกไฟไหม้ดำเป็นตอตะโก ยังไม่สามารถระบุว่าผู้ตายเป็นใคร
ทั้งนี้นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ได้สั่งให้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยภายในศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 5 กม.
อย่างไรก็ตาม จากการสรุปยอดผู้ได้รับบาดเจ็บล่าสุด พบว่ามีทั้งสิ้น 95 ราย โดยพักรักษาตามรพ.ต่างๆ ประกอบด้วย รพ.กรุงเทพระยอง 26 ราย ,รพ.มงกุฎระยอง 9 ราย ,รพ.ระยอง 8 ราย ,รพ.มาบตาพุด 41 ราย ,และรพ.สิริกิติ์ 11 ราย มีผู้เสียชีวิตแล้วทั้งสิ้น 13 ราย สูญหายอีก 2 ราย
ทั้งนี้นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ได้สั่งให้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยภายในศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 5 กม.
อย่างไรก็ตาม จากการสรุปยอดผู้ได้รับบาดเจ็บล่าสุด พบว่ามีทั้งสิ้น 95 ราย โดยพักรักษาตามรพ.ต่างๆ ประกอบด้วย รพ.กรุงเทพระยอง 26 ราย ,รพ.มงกุฎระยอง 9 ราย ,รพ.ระยอง 8 ราย ,รพ.มาบตาพุด 41 ราย ,และรพ.สิริกิติ์ 11 ราย มีผู้เสียชีวิตแล้วทั้งสิ้น 13 ราย สูญหายอีก 2 ราย
ภาพเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและหน่วยกู้ภัย เข้าไปช่วยสกัดเพลิงที่ลุกไหม้โรงงานฝ่ายผลิตยางรถยนต์ ภายในบริเวณ บริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ (BST) ถนนไอ 8 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ต.มาบตาพุด อ.เมือง จังหวัดระยอง เมื่อเวลา 15.30 น.วันที่ 5 พฤษภาคม เป็นเหตุให้คนงานได้รับบาดเจ็บกว่า 30 คน
| |
ประมวลภาพไฟไหม้โรงงานปิโตรเคมีกรุงเทพซินธิติกส์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต จ.ระยอง ก่อนเกิดระเบิดตามมา
ประมวลภาพไฟไหม้โรงงานปิโตรเคมีกรุงเทพซินธิติกส์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต จ.ระยอง ก่อนเกิดระเบิดตามมา
ภาพลำเลียงคนเจ็บที่ถูกไฟคลอก จนหนังท้องเปิด
ภาพขณะเจ้าหน้าที่กำลังมุ่งหน้าไปยังที่เกิดเหตุ
ภาพจากตลาดมาบตาพุด ที่มองเห็นกลุ่มควันชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น