แฉเล่ห์พ่อค้าหัวใสเอาเปรียบผู้บริโภค ซื้อขาย ทุเรียนอ่อน ทำลายชาวสวนผลไม้ที่สุจริต
วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2555 เวลา 00:00 น.
ทุเรียน เป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้” ฉายานี้คาดว่าน่าจะมาจากรูปร่างที่น่ากลัว และกลิ่นที่รุนแรงของทุเรียน หรืออาจเป็นเพราะลักษณะภายนอกของผลไม้ที่เป็นหนาม คล้ายมงกุฎของราชา และเนื้อในที่มีรสชาติอร่อยที่ยากจะหาผลไม้อื่นมาเทียบ ในตำราสมุนไพรกล่าวว่า ส่วนต่าง ๆ ของทุเรียนสามารถนำมาใช้เป็นยาได้ โดยใบมีรสขม เย็นเฝื่อน มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้ดีซ่าน ขับพยาธิและทำให้หนองแห้ง เนื้อทุเรียนมีรสหวานร้อน มีสรรพคุณให้ความร้อน ก่อให้เกิดความร้อนในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เหงื่อออกมากกว่าปกติและเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก มีแหล่งผลิตในภาคตะวันออก และภาคใต้ ปี 2553-2554 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประมาณการผลผลิตทั้งประเทศ 659,078 ตัน แบ่งเป็น ภาคตะวันออก (ระยอง จันทบุรี และตราด) 332,160 ตัน ภาคใต้ 306,484 ตัน มีมูลค่าส่งออก 4,000 ล้านบาท แหล่งที่ปลูกทุเรียนมากที่สุดของประเทศอยู่ในภาคตะวันออก มีพื้นที่การเพาะปลูกในปี 2540 ทั้งหมด 364,234 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 50.42 ของพื้นที่การเพาะปลูกทุเรียนทั้งประเทศ ภาคที่ปลูกทุเรียนมากเป็นอันดับรองลงมาคือภาคใต้ มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 320,149 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 44.31 จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตทุเรียนสำคัญในภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 233,694 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 32.35 ของพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งประเทศ จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญของภาคนี้รองลงมาคือ ระยอง มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 102,657 ไร่คิดเป็นร้อยละ 14.14 ของพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งประเทศ ส่วนจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญของภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร นราธิวาส และยะลา โดยมีพื้นที่เพาะปลูก 133,675 , 30,392 และ 30,287 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 18.50 , 4.21 และ 4.19 ของพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อรวมทั้ง 2 ภาคแล้ว พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตทุเรียนเกือบทั้งหมดอยู่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ และจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตที่สำคัญได้แก่ จันทบุรี ระยอง ชุมพร ยะลา และนราธิวาส ผลผลิตทุเรียนของไทยนั้นมีระยะเวลาการออกผลถึง 6 เดือนในรอบปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกของประเทศ สำหรับการปลูกทุเรียนของไทยมีมากใน 2 ภาค ซึ่งจะมีช่วงเวลาที่ให้ผลผลิตแตกต่างกัน โดยภาคตะวันออกจะมีผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดช่วงเดือน เมษายน-กรกฎาคม และภาคใต้จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือน กรกฎาคม-กันยายน จึงเป็นข้อดีที่ทำให้ช่วงเวลาการออกสู่ตลาดของทุเรียนไทยยาวนานกว่าปกติและยังช่วยบรรเทาการที่จะล้นตลาดได้อีกด้วย
จังหวัดระยองเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคตะวันออก มีทั้งทุเรียน เงาะ มังคุดและลองกอง ซึ่งมีผลผลิตรวมกว่า 100,000 ตัน/ปี ปลูกมากที่อำเภอแกลง อำเภอเขาชะเมา อำเภอวังจันทร์และอำเภอเมืองบางส่วน สำหรับทุเรียนมีพันธุ์ที่นิยมเป็น พันธุ์กระดุม พวงมณี ชะนี หมอนทอง ก้านยาวและพันธุ์นกกระจิบ แต่สถานการณ์ทั่วไปของผลไม้พบว่า ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ของทุกปี ผลผลิตส่วนมากจะออกมาพร้อม ๆ กัน และเกินความต้องการของตลาด ทำให้เกิดปัญหาราคาตกต่ำอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในปัจจุบันยังเจอปัญหาการตัด “ทุเรียนอ่อน” ซึ่งเป็นทุเรียนด้อยคุณภาพ โดยปะปนมาในรถบรรทุกทุเรียน เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับโรงงานคัดบรรจุเพื่อส่งออกที่มีภาษาเรียกว่า “ล้ง” หรือนำไปส่งให้แม่ค้าทุเรียนจำหน่ายที่ “ตลาดไท”
นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เรียกประชุมคณะทำงานตรวจสอบคุณภาพทุเรียน เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพหรือ “ทุเรียนอ่อน” มีหน่วยงาน สำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง อัยการจังหวัด ผู้แทนกองบังคับการตำรวจภูธร นายอำเภอแกลง เขาชะเมา วังจันทร์และอำเภอเมือง รับทราบปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข โดยสรุปว่า คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพทุเรียน ตั้งจุดสกัดทุเรียนด้อยคุณภาพเขตรอยต่อจังหวัดจันทบุรีและในเขตพื้นที่จังหวัดระยอง ตรวจพบถ้าไม่ได้คุณภาพให้ดำเนินคดีทันที ซึ่งล่าสุดได้มีการจับกุม พ่อค้าที่จะนำทุเรียนอ่อนไปขายตลาดไทจึงได้ยึดของกลางและแจ้งความดำเนินคดี
นายศราวุธ ปิตุเตชะ ตัวแทนอัยการจังหวัดระยอง กล่าวว่า “ปัญหาการค้าทุเรียน
แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือส่วนของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ส่วนของพ่อค้าคนกลางหรือผู้มีอาชีพตัดทุเรียน และส่วนที่ 3 คือผู้ประกอบการค้าทุเรียนส่งออกที่เรียกว่า “ล้ง” และหากพบว่าบุคคลดังกล่าวจำหน่ายทุเรียนด้อยคุณภาพ เข้าข่ายความผิดดังนี้ (1) ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณแห่งของนั้นเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับหรือ (2) การกระทำผิด พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 47 โดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือสาระสำคัญ ประการอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีจับกุมผู้กระทำผิดได้จะส่งฟ้องศาลภายใน 48 ชั่วโมง สำหรับวิธีเลือกซื้อทุเรียนเพื่อบริโภค หากเป็น “ทุเรียนอ่อน” จะตรวจสอบน้ำหนักแห้งเนื้อทุเรียนด้วยเครื่องเตาอบไมโครเวฟ โดยเฉลี่ย พันธุ์กระดุม น้ำหนักแห้ง 28% แป้ง พันธุ์ชะนี น้ำหนักแห้ง 30% แป้ง พันธุ์หมอนทอง น้ำหนักแห้ง 32% แป้ง ถ้าเปอร์เซ็นต์ต่ำกว่านี้ถือว่าเป็นทุเรียนด้อยคุณภาพ
ปัจจุบันมีแม่ค้าขายทุเรียนจำนวนไม่น้อยที่เอาเปรียบผู้บริโภค โดยการเอาทุเรียนที่แก่ไม่จัดมาขาย และยังใช้น้ำยาเร่งให้สุก เพื่อนำทุเรียนออกมาขายก่อนให้ได้กำไรเพิ่มมากขึ้น ทุเรียนที่ใช้น้ำยาเร่งสุกเมื่อผู้บริโภครับประทาน จะเกิดอาการปวดท้อง อาหารเป็นพิษได้ ดังนั้นวิธีเลือกซื้อทุเรียนแบบง่าย ๆ คือ สังเกตเบื้องต้นว่ามีการทาน้ำยาเร่งสุกหรือไม่ โดยดูจากการตัดที่ขั้วทุเรียน ปกติการตัดทุเรียนลงจากต้น คนตัดทุเรียนจะตัดติดขั้วยาวและส่วนใหญ่ทำมุม 45 องศา และก่อนจะทายาเร่งสุกที่ขั้วทุเรียน จะตัดจนสั้นให้ใกล้ปลิงมากที่สุด (ลักษณะของขั้วตัดตรงขนานกับพื้น) การทายาเร่งสุก ไส้ทุเรียนจะร้อนทำให้เนื้อนิ่มเร็วขึ้นทั้ง ๆ ที่ทุเรียนยังไม่แก่ เพราะยาใช้เร่งสุกเป็นยาอันตราย (ยาทาหน้ายางเพื่อเร่งน้ำยาง) ดังนั้น ซื้อทุเรียนทุกครั้งต่อไปลองสังเกตดูว่า “ขั้วทุเรียนสั้นหรือยาว”.
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก มีแหล่งผลิตในภาคตะวันออก และภาคใต้ ปี 2553-2554 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประมาณการผลผลิตทั้งประเทศ 659,078 ตัน แบ่งเป็น ภาคตะวันออก (ระยอง จันทบุรี และตราด) 332,160 ตัน ภาคใต้ 306,484 ตัน มีมูลค่าส่งออก 4,000 ล้านบาท แหล่งที่ปลูกทุเรียนมากที่สุดของประเทศอยู่ในภาคตะวันออก มีพื้นที่การเพาะปลูกในปี 2540 ทั้งหมด 364,234 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 50.42 ของพื้นที่การเพาะปลูกทุเรียนทั้งประเทศ ภาคที่ปลูกทุเรียนมากเป็นอันดับรองลงมาคือภาคใต้ มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 320,149 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 44.31 จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตทุเรียนสำคัญในภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 233,694 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 32.35 ของพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งประเทศ จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญของภาคนี้รองลงมาคือ ระยอง มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 102,657 ไร่คิดเป็นร้อยละ 14.14 ของพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งประเทศ ส่วนจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญของภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร นราธิวาส และยะลา โดยมีพื้นที่เพาะปลูก 133,675 , 30,392 และ 30,287 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 18.50 , 4.21 และ 4.19 ของพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อรวมทั้ง 2 ภาคแล้ว พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตทุเรียนเกือบทั้งหมดอยู่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ และจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตที่สำคัญได้แก่ จันทบุรี ระยอง ชุมพร ยะลา และนราธิวาส ผลผลิตทุเรียนของไทยนั้นมีระยะเวลาการออกผลถึง 6 เดือนในรอบปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกของประเทศ สำหรับการปลูกทุเรียนของไทยมีมากใน 2 ภาค ซึ่งจะมีช่วงเวลาที่ให้ผลผลิตแตกต่างกัน โดยภาคตะวันออกจะมีผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดช่วงเดือน เมษายน-กรกฎาคม และภาคใต้จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือน กรกฎาคม-กันยายน จึงเป็นข้อดีที่ทำให้ช่วงเวลาการออกสู่ตลาดของทุเรียนไทยยาวนานกว่าปกติและยังช่วยบรรเทาการที่จะล้นตลาดได้อีกด้วย
จังหวัดระยองเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคตะวันออก มีทั้งทุเรียน เงาะ มังคุดและลองกอง ซึ่งมีผลผลิตรวมกว่า 100,000 ตัน/ปี ปลูกมากที่อำเภอแกลง อำเภอเขาชะเมา อำเภอวังจันทร์และอำเภอเมืองบางส่วน สำหรับทุเรียนมีพันธุ์ที่นิยมเป็น พันธุ์กระดุม พวงมณี ชะนี หมอนทอง ก้านยาวและพันธุ์นกกระจิบ แต่สถานการณ์ทั่วไปของผลไม้พบว่า ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ของทุกปี ผลผลิตส่วนมากจะออกมาพร้อม ๆ กัน และเกินความต้องการของตลาด ทำให้เกิดปัญหาราคาตกต่ำอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในปัจจุบันยังเจอปัญหาการตัด “ทุเรียนอ่อน” ซึ่งเป็นทุเรียนด้อยคุณภาพ โดยปะปนมาในรถบรรทุกทุเรียน เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับโรงงานคัดบรรจุเพื่อส่งออกที่มีภาษาเรียกว่า “ล้ง” หรือนำไปส่งให้แม่ค้าทุเรียนจำหน่ายที่ “ตลาดไท”
นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เรียกประชุมคณะทำงานตรวจสอบคุณภาพทุเรียน เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพหรือ “ทุเรียนอ่อน” มีหน่วยงาน สำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง อัยการจังหวัด ผู้แทนกองบังคับการตำรวจภูธร นายอำเภอแกลง เขาชะเมา วังจันทร์และอำเภอเมือง รับทราบปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข โดยสรุปว่า คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพทุเรียน ตั้งจุดสกัดทุเรียนด้อยคุณภาพเขตรอยต่อจังหวัดจันทบุรีและในเขตพื้นที่จังหวัดระยอง ตรวจพบถ้าไม่ได้คุณภาพให้ดำเนินคดีทันที ซึ่งล่าสุดได้มีการจับกุม พ่อค้าที่จะนำทุเรียนอ่อนไปขายตลาดไทจึงได้ยึดของกลางและแจ้งความดำเนินคดี
นายศราวุธ ปิตุเตชะ ตัวแทนอัยการจังหวัดระยอง กล่าวว่า “ปัญหาการค้าทุเรียน
แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือส่วนของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ส่วนของพ่อค้าคนกลางหรือผู้มีอาชีพตัดทุเรียน และส่วนที่ 3 คือผู้ประกอบการค้าทุเรียนส่งออกที่เรียกว่า “ล้ง” และหากพบว่าบุคคลดังกล่าวจำหน่ายทุเรียนด้อยคุณภาพ เข้าข่ายความผิดดังนี้ (1) ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณแห่งของนั้นเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับหรือ (2) การกระทำผิด พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 47 โดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือสาระสำคัญ ประการอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีจับกุมผู้กระทำผิดได้จะส่งฟ้องศาลภายใน 48 ชั่วโมง สำหรับวิธีเลือกซื้อทุเรียนเพื่อบริโภค หากเป็น “ทุเรียนอ่อน” จะตรวจสอบน้ำหนักแห้งเนื้อทุเรียนด้วยเครื่องเตาอบไมโครเวฟ โดยเฉลี่ย พันธุ์กระดุม น้ำหนักแห้ง 28% แป้ง พันธุ์ชะนี น้ำหนักแห้ง 30% แป้ง พันธุ์หมอนทอง น้ำหนักแห้ง 32% แป้ง ถ้าเปอร์เซ็นต์ต่ำกว่านี้ถือว่าเป็นทุเรียนด้อยคุณภาพ
ปัจจุบันมีแม่ค้าขายทุเรียนจำนวนไม่น้อยที่เอาเปรียบผู้บริโภค โดยการเอาทุเรียนที่แก่ไม่จัดมาขาย และยังใช้น้ำยาเร่งให้สุก เพื่อนำทุเรียนออกมาขายก่อนให้ได้กำไรเพิ่มมากขึ้น ทุเรียนที่ใช้น้ำยาเร่งสุกเมื่อผู้บริโภครับประทาน จะเกิดอาการปวดท้อง อาหารเป็นพิษได้ ดังนั้นวิธีเลือกซื้อทุเรียนแบบง่าย ๆ คือ สังเกตเบื้องต้นว่ามีการทาน้ำยาเร่งสุกหรือไม่ โดยดูจากการตัดที่ขั้วทุเรียน ปกติการตัดทุเรียนลงจากต้น คนตัดทุเรียนจะตัดติดขั้วยาวและส่วนใหญ่ทำมุม 45 องศา และก่อนจะทายาเร่งสุกที่ขั้วทุเรียน จะตัดจนสั้นให้ใกล้ปลิงมากที่สุด (ลักษณะของขั้วตัดตรงขนานกับพื้น) การทายาเร่งสุก ไส้ทุเรียนจะร้อนทำให้เนื้อนิ่มเร็วขึ้นทั้ง ๆ ที่ทุเรียนยังไม่แก่ เพราะยาใช้เร่งสุกเป็นยาอันตราย (ยาทาหน้ายางเพื่อเร่งน้ำยาง) ดังนั้น ซื้อทุเรียนทุกครั้งต่อไปลองสังเกตดูว่า “ขั้วทุเรียนสั้นหรือยาว”.
โนชญ์ ชาญด้วยกิจ
แฉเล่ห์พ่อค้าหัวใสเอาเปรียบผู้บริโภค ซื้อขาย ทุเรียนอ่อน ทำลายชาวสวนผลไม้ที่สุจริต
วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2555 เวลา 00:00 น.
ทุเรียน เป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้” ฉายานี้คาดว่าน่าจะมาจากรูปร่างที่น่ากลัว และกลิ่นที่รุนแรงของทุเรียน หรืออาจเป็นเพราะลักษณะภายนอกของผลไม้ที่เป็นหนาม คล้ายมงกุฎของราชา และเนื้อในที่มีรสชาติอร่อยที่ยากจะหาผลไม้อื่นมาเทียบ ในตำราสมุนไพรกล่าวว่า ส่วนต่าง ๆ ของทุเรียนสามารถนำมาใช้เป็นยาได้ โดยใบมีรสขม เย็นเฝื่อน มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้ดีซ่าน ขับพยาธิและทำให้หนองแห้ง เนื้อทุเรียนมีรสหวานร้อน มีสรรพคุณให้ความร้อน ก่อให้เกิดความร้อนในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เหงื่อออกมากกว่าปกติและเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก มีแหล่งผลิตในภาคตะวันออก และภาคใต้ ปี 2553-2554 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประมาณการผลผลิตทั้งประเทศ 659,078 ตัน แบ่งเป็น ภาคตะวันออก (ระยอง จันทบุรี และตราด) 332,160 ตัน ภาคใต้ 306,484 ตัน มีมูลค่าส่งออก 4,000 ล้านบาท แหล่งที่ปลูกทุเรียนมากที่สุดของประเทศอยู่ในภาคตะวันออก มีพื้นที่การเพาะปลูกในปี 2540 ทั้งหมด 364,234 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 50.42 ของพื้นที่การเพาะปลูกทุเรียนทั้งประเทศ ภาคที่ปลูกทุเรียนมากเป็นอันดับรองลงมาคือภาคใต้ มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 320,149 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 44.31 จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตทุเรียนสำคัญในภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 233,694 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 32.35 ของพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งประเทศ จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญของภาคนี้รองลงมาคือ ระยอง มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 102,657 ไร่คิดเป็นร้อยละ 14.14 ของพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งประเทศ ส่วนจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญของภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร นราธิวาส และยะลา โดยมีพื้นที่เพาะปลูก 133,675 , 30,392 และ 30,287 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 18.50 , 4.21 และ 4.19 ของพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อรวมทั้ง 2 ภาคแล้ว พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตทุเรียนเกือบทั้งหมดอยู่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ และจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตที่สำคัญได้แก่ จันทบุรี ระยอง ชุมพร ยะลา และนราธิวาส ผลผลิตทุเรียนของไทยนั้นมีระยะเวลาการออกผลถึง 6 เดือนในรอบปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกของประเทศ สำหรับการปลูกทุเรียนของไทยมีมากใน 2 ภาค ซึ่งจะมีช่วงเวลาที่ให้ผลผลิตแตกต่างกัน โดยภาคตะวันออกจะมีผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดช่วงเดือน เมษายน-กรกฎาคม และภาคใต้จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือน กรกฎาคม-กันยายน จึงเป็นข้อดีที่ทำให้ช่วงเวลาการออกสู่ตลาดของทุเรียนไทยยาวนานกว่าปกติและยังช่วยบรรเทาการที่จะล้นตลาดได้อีกด้วย
จังหวัดระยองเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคตะวันออก มีทั้งทุเรียน เงาะ มังคุดและลองกอง ซึ่งมีผลผลิตรวมกว่า 100,000 ตัน/ปี ปลูกมากที่อำเภอแกลง อำเภอเขาชะเมา อำเภอวังจันทร์และอำเภอเมืองบางส่วน สำหรับทุเรียนมีพันธุ์ที่นิยมเป็น พันธุ์กระดุม พวงมณี ชะนี หมอนทอง ก้านยาวและพันธุ์นกกระจิบ แต่สถานการณ์ทั่วไปของผลไม้พบว่า ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ของทุกปี ผลผลิตส่วนมากจะออกมาพร้อม ๆ กัน และเกินความต้องการของตลาด ทำให้เกิดปัญหาราคาตกต่ำอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในปัจจุบันยังเจอปัญหาการตัด “ทุเรียนอ่อน” ซึ่งเป็นทุเรียนด้อยคุณภาพ โดยปะปนมาในรถบรรทุกทุเรียน เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับโรงงานคัดบรรจุเพื่อส่งออกที่มีภาษาเรียกว่า “ล้ง” หรือนำไปส่งให้แม่ค้าทุเรียนจำหน่ายที่ “ตลาดไท”
นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เรียกประชุมคณะทำงานตรวจสอบคุณภาพทุเรียน เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพหรือ “ทุเรียนอ่อน” มีหน่วยงาน สำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง อัยการจังหวัด ผู้แทนกองบังคับการตำรวจภูธร นายอำเภอแกลง เขาชะเมา วังจันทร์และอำเภอเมือง รับทราบปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข โดยสรุปว่า คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพทุเรียน ตั้งจุดสกัดทุเรียนด้อยคุณภาพเขตรอยต่อจังหวัดจันทบุรีและในเขตพื้นที่จังหวัดระยอง ตรวจพบถ้าไม่ได้คุณภาพให้ดำเนินคดีทันที ซึ่งล่าสุดได้มีการจับกุม พ่อค้าที่จะนำทุเรียนอ่อนไปขายตลาดไทจึงได้ยึดของกลางและแจ้งความดำเนินคดี
นายศราวุธ ปิตุเตชะ ตัวแทนอัยการจังหวัดระยอง กล่าวว่า “ปัญหาการค้าทุเรียน
แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือส่วนของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ส่วนของพ่อค้าคนกลางหรือผู้มีอาชีพตัดทุเรียน และส่วนที่ 3 คือผู้ประกอบการค้าทุเรียนส่งออกที่เรียกว่า “ล้ง” และหากพบว่าบุคคลดังกล่าวจำหน่ายทุเรียนด้อยคุณภาพ เข้าข่ายความผิดดังนี้ (1) ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณแห่งของนั้นเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับหรือ (2) การกระทำผิด พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 47 โดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือสาระสำคัญ ประการอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีจับกุมผู้กระทำผิดได้จะส่งฟ้องศาลภายใน 48 ชั่วโมง สำหรับวิธีเลือกซื้อทุเรียนเพื่อบริโภค หากเป็น “ทุเรียนอ่อน” จะตรวจสอบน้ำหนักแห้งเนื้อทุเรียนด้วยเครื่องเตาอบไมโครเวฟ โดยเฉลี่ย พันธุ์กระดุม น้ำหนักแห้ง 28% แป้ง พันธุ์ชะนี น้ำหนักแห้ง 30% แป้ง พันธุ์หมอนทอง น้ำหนักแห้ง 32% แป้ง ถ้าเปอร์เซ็นต์ต่ำกว่านี้ถือว่าเป็นทุเรียนด้อยคุณภาพ
ปัจจุบันมีแม่ค้าขายทุเรียนจำนวนไม่น้อยที่เอาเปรียบผู้บริโภค โดยการเอาทุเรียนที่แก่ไม่จัดมาขาย และยังใช้น้ำยาเร่งให้สุก เพื่อนำทุเรียนออกมาขายก่อนให้ได้กำไรเพิ่มมากขึ้น ทุเรียนที่ใช้น้ำยาเร่งสุกเมื่อผู้บริโภครับประทาน จะเกิดอาการปวดท้อง อาหารเป็นพิษได้ ดังนั้นวิธีเลือกซื้อทุเรียนแบบง่าย ๆ คือ สังเกตเบื้องต้นว่ามีการทาน้ำยาเร่งสุกหรือไม่ โดยดูจากการตัดที่ขั้วทุเรียน ปกติการตัดทุเรียนลงจากต้น คนตัดทุเรียนจะตัดติดขั้วยาวและส่วนใหญ่ทำมุม 45 องศา และก่อนจะทายาเร่งสุกที่ขั้วทุเรียน จะตัดจนสั้นให้ใกล้ปลิงมากที่สุด (ลักษณะของขั้วตัดตรงขนานกับพื้น) การทายาเร่งสุก ไส้ทุเรียนจะร้อนทำให้เนื้อนิ่มเร็วขึ้นทั้ง ๆ ที่ทุเรียนยังไม่แก่ เพราะยาใช้เร่งสุกเป็นยาอันตราย (ยาทาหน้ายางเพื่อเร่งน้ำยาง) ดังนั้น ซื้อทุเรียนทุกครั้งต่อไปลองสังเกตดูว่า “ขั้วทุเรียนสั้นหรือยาว”.
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก มีแหล่งผลิตในภาคตะวันออก และภาคใต้ ปี 2553-2554 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประมาณการผลผลิตทั้งประเทศ 659,078 ตัน แบ่งเป็น ภาคตะวันออก (ระยอง จันทบุรี และตราด) 332,160 ตัน ภาคใต้ 306,484 ตัน มีมูลค่าส่งออก 4,000 ล้านบาท แหล่งที่ปลูกทุเรียนมากที่สุดของประเทศอยู่ในภาคตะวันออก มีพื้นที่การเพาะปลูกในปี 2540 ทั้งหมด 364,234 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 50.42 ของพื้นที่การเพาะปลูกทุเรียนทั้งประเทศ ภาคที่ปลูกทุเรียนมากเป็นอันดับรองลงมาคือภาคใต้ มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 320,149 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 44.31 จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตทุเรียนสำคัญในภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 233,694 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 32.35 ของพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งประเทศ จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญของภาคนี้รองลงมาคือ ระยอง มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 102,657 ไร่คิดเป็นร้อยละ 14.14 ของพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งประเทศ ส่วนจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญของภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร นราธิวาส และยะลา โดยมีพื้นที่เพาะปลูก 133,675 , 30,392 และ 30,287 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 18.50 , 4.21 และ 4.19 ของพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อรวมทั้ง 2 ภาคแล้ว พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตทุเรียนเกือบทั้งหมดอยู่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ และจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตที่สำคัญได้แก่ จันทบุรี ระยอง ชุมพร ยะลา และนราธิวาส ผลผลิตทุเรียนของไทยนั้นมีระยะเวลาการออกผลถึง 6 เดือนในรอบปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกของประเทศ สำหรับการปลูกทุเรียนของไทยมีมากใน 2 ภาค ซึ่งจะมีช่วงเวลาที่ให้ผลผลิตแตกต่างกัน โดยภาคตะวันออกจะมีผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดช่วงเดือน เมษายน-กรกฎาคม และภาคใต้จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือน กรกฎาคม-กันยายน จึงเป็นข้อดีที่ทำให้ช่วงเวลาการออกสู่ตลาดของทุเรียนไทยยาวนานกว่าปกติและยังช่วยบรรเทาการที่จะล้นตลาดได้อีกด้วย
จังหวัดระยองเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคตะวันออก มีทั้งทุเรียน เงาะ มังคุดและลองกอง ซึ่งมีผลผลิตรวมกว่า 100,000 ตัน/ปี ปลูกมากที่อำเภอแกลง อำเภอเขาชะเมา อำเภอวังจันทร์และอำเภอเมืองบางส่วน สำหรับทุเรียนมีพันธุ์ที่นิยมเป็น พันธุ์กระดุม พวงมณี ชะนี หมอนทอง ก้านยาวและพันธุ์นกกระจิบ แต่สถานการณ์ทั่วไปของผลไม้พบว่า ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ของทุกปี ผลผลิตส่วนมากจะออกมาพร้อม ๆ กัน และเกินความต้องการของตลาด ทำให้เกิดปัญหาราคาตกต่ำอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในปัจจุบันยังเจอปัญหาการตัด “ทุเรียนอ่อน” ซึ่งเป็นทุเรียนด้อยคุณภาพ โดยปะปนมาในรถบรรทุกทุเรียน เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับโรงงานคัดบรรจุเพื่อส่งออกที่มีภาษาเรียกว่า “ล้ง” หรือนำไปส่งให้แม่ค้าทุเรียนจำหน่ายที่ “ตลาดไท”
นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เรียกประชุมคณะทำงานตรวจสอบคุณภาพทุเรียน เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพหรือ “ทุเรียนอ่อน” มีหน่วยงาน สำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง อัยการจังหวัด ผู้แทนกองบังคับการตำรวจภูธร นายอำเภอแกลง เขาชะเมา วังจันทร์และอำเภอเมือง รับทราบปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข โดยสรุปว่า คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพทุเรียน ตั้งจุดสกัดทุเรียนด้อยคุณภาพเขตรอยต่อจังหวัดจันทบุรีและในเขตพื้นที่จังหวัดระยอง ตรวจพบถ้าไม่ได้คุณภาพให้ดำเนินคดีทันที ซึ่งล่าสุดได้มีการจับกุม พ่อค้าที่จะนำทุเรียนอ่อนไปขายตลาดไทจึงได้ยึดของกลางและแจ้งความดำเนินคดี
นายศราวุธ ปิตุเตชะ ตัวแทนอัยการจังหวัดระยอง กล่าวว่า “ปัญหาการค้าทุเรียน
แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือส่วนของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ส่วนของพ่อค้าคนกลางหรือผู้มีอาชีพตัดทุเรียน และส่วนที่ 3 คือผู้ประกอบการค้าทุเรียนส่งออกที่เรียกว่า “ล้ง” และหากพบว่าบุคคลดังกล่าวจำหน่ายทุเรียนด้อยคุณภาพ เข้าข่ายความผิดดังนี้ (1) ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณแห่งของนั้นเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับหรือ (2) การกระทำผิด พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 47 โดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือสาระสำคัญ ประการอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีจับกุมผู้กระทำผิดได้จะส่งฟ้องศาลภายใน 48 ชั่วโมง สำหรับวิธีเลือกซื้อทุเรียนเพื่อบริโภค หากเป็น “ทุเรียนอ่อน” จะตรวจสอบน้ำหนักแห้งเนื้อทุเรียนด้วยเครื่องเตาอบไมโครเวฟ โดยเฉลี่ย พันธุ์กระดุม น้ำหนักแห้ง 28% แป้ง พันธุ์ชะนี น้ำหนักแห้ง 30% แป้ง พันธุ์หมอนทอง น้ำหนักแห้ง 32% แป้ง ถ้าเปอร์เซ็นต์ต่ำกว่านี้ถือว่าเป็นทุเรียนด้อยคุณภาพ
ปัจจุบันมีแม่ค้าขายทุเรียนจำนวนไม่น้อยที่เอาเปรียบผู้บริโภค โดยการเอาทุเรียนที่แก่ไม่จัดมาขาย และยังใช้น้ำยาเร่งให้สุก เพื่อนำทุเรียนออกมาขายก่อนให้ได้กำไรเพิ่มมากขึ้น ทุเรียนที่ใช้น้ำยาเร่งสุกเมื่อผู้บริโภครับประทาน จะเกิดอาการปวดท้อง อาหารเป็นพิษได้ ดังนั้นวิธีเลือกซื้อทุเรียนแบบง่าย ๆ คือ สังเกตเบื้องต้นว่ามีการทาน้ำยาเร่งสุกหรือไม่ โดยดูจากการตัดที่ขั้วทุเรียน ปกติการตัดทุเรียนลงจากต้น คนตัดทุเรียนจะตัดติดขั้วยาวและส่วนใหญ่ทำมุม 45 องศา และก่อนจะทายาเร่งสุกที่ขั้วทุเรียน จะตัดจนสั้นให้ใกล้ปลิงมากที่สุด (ลักษณะของขั้วตัดตรงขนานกับพื้น) การทายาเร่งสุก ไส้ทุเรียนจะร้อนทำให้เนื้อนิ่มเร็วขึ้นทั้ง ๆ ที่ทุเรียนยังไม่แก่ เพราะยาใช้เร่งสุกเป็นยาอันตราย (ยาทาหน้ายางเพื่อเร่งน้ำยาง) ดังนั้น ซื้อทุเรียนทุกครั้งต่อไปลองสังเกตดูว่า “ขั้วทุเรียนสั้นหรือยาว”.
โนชญ์ ชาญด้วยกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น