วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

MOU มีความหมายว่าอย่างไร


ภาพประกอบ
 
MOU มีความหมายว่าอย่างไร
วันนี้มีบทความดี ๆ มาฝากเพื่อน ๆ ลองอ่านดูครับ
          ช่วงนี้ทั้งในที่ทำงาน และข่าวการเมือง ได้ยินคำว่า MOU อยู่บ่อยๆ เกิดความสงสัยว่า MOU คืออะไร เปิดหาความรู้ใน Google ได้ความว่า 
นฤมล บุญแต่ง นักวรรณศิลป์ 7 ว กองธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน ให้คำอธิบายว่า เอ็มโอยู (MOU-Memorandum Of Understanding) หรือบันทึกความเข้าใจ เป็นหนังสือซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงความสมัครใจจะปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด และตามเงื่อนไขที่ปรากฏในหนังสือนั้นกับอีกฝ่ายหนึ่ง
โดยที่หนังสือนี้ไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัด แต่แสดงความต้องการอันแน่วแน่ของผู้ลงนามว่าจะปฏิบัติดังที่ได้ระบุไว้ เช่น สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในประเทศไทย ทำบันทึกความเข้าใจกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ เพื่อความร่วมมือทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา
ขณะที่ บันทึกข้อตกลง (Memorandum Of Agreement) อันเป็นหนังสือหรือสัญญา ซึ่งมีข้อความที่ระบุเป็นหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติหรือดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นข้อกติกา ข้อที่นัดหมายกันไว้ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จึงมีใช้ได้ทั้ง คำ แต่จะใช้บันทึกความเข้าใจมากกว่า เช่น MOU ระหว่างมหาวิทยาลัยกับส่วนราชการ ในการแลกเปลี่ยนวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการฟ้องละเมิดกันจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ในฐานะอาจเป็นสัญญาได้ ส่วนสัญญานั้น นักกฎหมายต่างทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นทางการมากกว่า มีสภาพบังคับ และมีผลตามกฎหมายที่ต้องการให้เป็นไปแต่ละเรื่อง
วันก่อนที่ลงนามกันว่าปีหน้าจะทำอะไรกันบ้าง ก็ขอเป็นกำลังใจให้ สำเร็จกันทุกๆท่านนะค่ะ

อีกบทความหนึ่ง จาก บล๊อค http://www.oknation.net/blog/ananbo
        ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาหลายท่านคงได้ยินได้ฟังคำว่า MoU กัน ทั้งที่ปรากฏทางสื่อต่างๆ วันนี้จึงขอหยิบเอาคำนี้มาพูดถึงความหมายของ MoU ซึ่งมาจาก Memorandum of Understanding ว่าหมายถึงอะไร   
          Memorandum  มีความหมายว่า บันทึก ข้อความที่บันทึกไว้ จดหมายเหตุ เอกสารข้อสัญญา นอกจากนี้ยังสามารถหมายความถึง สารหรือหนังสือที่ไม่เป็นทางการ จึงจะเห็นได้ว่าคำนี้จะหมายถึงเอกสารทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ  
          Memorandum of Understanding  จึงเป็น บันทึกความเข้าใจ เป็นหนังสือซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงความสมัครใจจะปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด และตามเงื่อนไขที่ปรากฏในหนังสือนั้นกับอีกฝ่ายหนึ่ง  โดยที่หนังสือนี้ไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัด แต่แสดงความต้องการอันแน่วแน่ของผู้ลงนามว่าจะปฏิบัติดังที่ได้ระบุไว้   โดยปกติการใช้ MoU พูดง่ายๆ คือเป็นข้อตกลงที่สองฝ่ายเจตนาทำ "หลวมๆ" เพื่อไม่ให้ดูเป็นพิธีการ โดยมีลักษณะคล้ายๆ เป็นพวกสัญญาสุภาพบุรุษ  ในทางการทูต MoU เป็นส่วนหนึ่งของ สนธิสัญญา” (treaty) ซึ่ง สนธิสัญญา” เป็นคำที่มีความหมายทั่วไป โดยอาจมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป อาทิ ความตกลง” (agreement) “ข้อตกลง” (arrangement) “บันทึกความเข้าใจ”(memorandum of understanding) “บันทึกความตกลง”(memorandum of agreement) “พิธีสาร” (protocol)  อนุสัญญา” (Convention)      อย่างไรก็ดี ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม  หากเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย ถือเป็น สนธิสัญญา”  
         หากจะถามว่า MoU ถือเป็นเอกสารสัญญาที่มีผลผูกพัน หรือบังคับทางกฎหมายหรือไม่    ก็จะตอบว่าให้ดูประเด็นที่ควรพิจารณา คือ ให้ดูที่เนื้อหาของ MoU นั้น หากมีเนื้อหาที่มีเจตนาต้องการให้เกิดผลผูกพัน มีการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน ย่อมถือว่า MoU นั้นเป็นข้อตกลงเนื่องจากมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน   ในกรณีที่ MoU นั้น เป็นเพียงการบันทึกเพื่อช่วยจำ หรือเป็นการแจ้งให้ทราบ ในทางกฎหมายแล้วจะไม่ถือว่าเป็นข้อตกลง    
         ในทางการบริหารจัดการขององค์กรภาคธุรกิจหรือแม้แต่ภาคราชการไทยบ้านเราในระยะที่ผ่านมา ได้นำ MoU มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารหรือการจัดการภายในองค์กรกันมาก  โดยให้บุคลากรในองค์กรแต่ละระดับจัดทำ MoU  ระหว่างกันตามลำดับชั้นของการบริหาร  โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดผลงาน  กำหนดเป้าหมายของผลงานทั้งที่ในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ หรือเชิงเวลา     เมื่อสิ้นงวดเวลาที่ตกลงกันไว้ก็จะประเมินผลงานของบุคคลที่ทำ MoU กันไว้ว่าผลเป็นอย่างไร   ผลการประเมินก็เชื่อมโยงไปถึงการเลื่อนตำแหน่ง เลื่อนขั้นเงินเดือน  การจ่ายเงินรางวัลหรือโบนัสก็แล้วแต่ที่จะนำไปเชื่อมโยงกัน     ซึ่งจะมีผลต่อภารกิจขององค์กรสามารถเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้เป็นอย่างดี ....สวัสดี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น